ผู้เขียน หัวข้อ: ข้อมูลโรค: อาหารไม่ย่อย (Dyspepsia)  (อ่าน 439 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 994
  • จำหน่ายเครื่องจักรอุตสาหกรรมและสินค้าอุตสาหกรรม
    • ดูรายละเอียด
ข้อมูลโรค: อาหารไม่ย่อย (Dyspepsia)
« เมื่อ: วันที่ 20 พฤศจิกายน 2023, 15:19:33 น. »
อาหารไม่ย่อย หมายถึง อาการไม่สบายท้องตรงบริเวณยอดอกหรือใต้ลิ้นปี่ ที่เกิดขึ้นระหว่างหรือหลังกินอาหาร โดยมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างร่วมกัน เช่น จุกเสียด แน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ มีลมในท้อง เรอบ่อย แสบท้อง เรอเปรี้ยว คลื่นไส้ หรืออาเจียนเล็กน้อย เป็นต้น อาการจะเป็นเฉพาะบริเวณระดับเหนือสะดือ จะไม่มีอาการปวดท้องในส่วนใต้สะดือ และไม่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการขับถ่ายร่วมด้วย  อาการนี้พบได้เกือบทุกคนทั้งเด็กและผู้ใหญ่ บางรายเป็นครั้งคราว บางรายอาจเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง อาจมีสาเหตุได้หลากหลาย ตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงโรคที่รุนแรงหรือร้ายแรง และความผิดปกติ (พยาธิสภาพ) อาจอยู่ทั้งในและนอกกระเพาะลำไส้


สาเหตุ

เนื่องจากอาการ "อาหารไม่ย่อย" เป็นอาการแสดงของโรค มิได้หมายถึงโรคจำเพาะชนิดใดชนิดหนึ่ง จึงอาจมีสาเหตุได้ต่าง ๆ ได้แก่

1. สาเหตุที่พบบ่อยที่สุด (ประมาณร้อยละ 30-50 ของผู้ป่วยที่มีอาการอาหารไม่ย่อย) ก็คือ อาหารไม่ย่อยชนิดไม่มีแผล (non-ulcer dyspepsia) ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุชัดเจน สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากมีการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารมาก หรืออาจสัมพันธ์กับฮอร์โมน ความเครียดทางจิตใจ หรืออาหาร (เช่น อาหารมัน อาหารรสจัด อาหารสุก ๆ ดิบ ๆ อาหารย่อยยาก) หรืออาจเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ เป็นต้น

2. โรคแผลเพ็ปติก กระเพาะอาหารอักเสบ

3. โรคกรดไหลย้อน

4. เกิดจากยา (เช่น แอสไพริน ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์ สตีรอยด์ ยาเม็ดโพแทสเซียมคลอไรด์ เตตราไซคลีน อีริโทรไมซิน เฟอร์รัสซัลเฟต ทีโอฟิลลีน เป็นต้น) รวมทั้งแอลกอฮอล์ (เช่น เหล้า เบียร์ ไวน์) ชา กาแฟ และเครื่องดื่มกาเฟอีน

5. โรคของตับ ถุงน้ำดี และตับอ่อน เช่น ตับอักเสบ ตับแข็ง นิ่วน้ำดี ถุงน้ำดีอักเสบ ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง

6. มะเร็ง เช่น มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับอ่อน มะเร็งตับ เป็นต้น ซึ่งมักพบในคนอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป

7. กระเพาะอาหารขับเคลื่อนตัวช้า ทำให้มีอาหารตกค้างในกระเพาะอาหารอยู่นาน เช่น ผู้ป่วยเบาหวานที่ระบบประสาทอัตโนมัติเสื่อม มีแผลหรือเนื้องอกในกระเพาะอาหาร เป็นต้น

8. อื่น ๆ เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคกังวลทั่วไป โรคซึมเศร้า โรคลำไส้แปรปรวน เป็นต้น


อาการ

มีอาการปวดหรือไม่สบายท้อง ตรงบริเวณยอดอกหรือใต้ลิ้นปี่ ลักษณะจุกเสียด ท้องอืด ท้องเฟ้อ มีลมในท้อง เรอบ่อย แสบท้อง เรอเปรี้ยว คลื่นไส้หรืออาเจียนเล็กน้อย อาการอาจมีเพียงอย่างเดียวหรือหลายอย่างร่วมกัน โดยเกิดขึ้นระหว่างกินข้าวหรือหลังกินข้าว

บางรายอาจมีประวัติกินยา ดื่มแอลกอฮอล์  ดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มกาเฟอีน หรือมีความเครียด วิตกกังวล นอนไม่หลับ

ในรายที่เป็นโรคกรดไหลย้อน จะมีอาการเรอเปรี้ยว หรือแสบลิ้นปี่ขึ้นมาถึงลำคอ เป็นมากเวลานอนราบ หรือก้มตัว

ในผู้ป่วยแผลเพ็ปติก มักมีอาการแสบท้องเวลาหิวหรือหิวก่อนเวลา หรือปวดท้องตอนดึก และทุเลาเมื่อกินยาลดกรด ดื่มนม หรือกินอาหาร มักมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ บ่อย

ในรายที่เป็นโรคตับ ถุงน้ำดี ตับอ่อน มะเร็งในช่องท้อง ในระยะแรกมีอาการแบบอาหารไม่ย่อย หรือแผลเพ็ปติก แต่ระยะต่อมามักมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ดีซ่าน หรือถ่ายดำ

ในรายที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือด จะมีอาการจุกแน่นยอดอก และปวดร้าวขึ้นไปที่คอ ขากรรไกร หัวไหล่ พบในคนอายุ 40-50 ปีขึ้นไป อาจมีประวัติสูบบุหรี่ เป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือภาวะไขมันในเลือดสูง

ข้อมูลโรค: อาหารไม่ย่อย (Dyspepsia) อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/disease-conditions