ผู้เขียน หัวข้อ: วิธีรักษาโรคไตเบื้องต้น เพื่อฟื้นฟูสุขภาพ ชะลอความเสื่อมไต  (อ่าน 2 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1437
  • จำหน่ายเครื่องจักรอุตสาหกรรมและสินค้าอุตสาหกรรม
    • ดูรายละเอียด
วิธีรักษาโรคไตเบื้องต้น เพื่อฟื้นฟูสุขภาพ ชะลอความเสื่อมไต

ปัจจุบันคนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หากไม่สามารถชะลอความเสื่อมของไตได้ คนจำนวนดังกล่าวก็จะดำเนินเข้าสู่โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (End-Stage Renal Disease: ESRD) ที่จำเป็นต้องเข้ารับการฟอกไตกับปลูกถ่ายไตในสถาบันโรคไตต่าง ๆ ซึ่งมีขั้นตอนซับซ้อนและค่าใช้จ่ายที่สูงมาก

วิธีการดูแลป้องกันให้ไตให้เสื่อมช้าลง เริ่มต้นได้จากการทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ เพื่อช่วยในการขับสารพิษ ออกกำลังกายเป็นประจำ หลีกเลี่ยงการกินยาแก้ปวดต้านอักเสบมากเกินความจำเป็น และควบคุมอาการของโรคร่วม เช่น เบาหวาน ความดันโลหิต เก๊าต์ ให้เป็นปกติ

สารบัญบทความ

    โรคไตเกิดจากสาเหตุอะไร?
    สัญญาณโรคไต อาการแบบไหนที่ควรระวัง?
    5 วิธีรักษาโรคไตเบื้องต้น ลดความเสี่ยงไตทรุดตัวเร็ว
    วิธีรักษาโรคไตเบื้องต้น เคล็ด(ไม่)ลับ สำหรับยืดเวลาก่อนเข้าสู่โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย
    คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับวิธีรักษาโรคไตเบื้องต้น

โรคไตเกิดจากสาเหตุอะไร?

ก่อนรู้จักวิธีการป้องกันโรคไตเบื้องต้น ต้องรู้ก่อนว่าโรคไตมีสาเหตุมาจากอะไร? โดยโรคไตสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมการใช้ชีวิต การถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ เช่น โรคถุงน้ำในไตชนิดพันธุกรรมเด่น (ADPKD) รวมถึงปัจจัยจากการเป็นโรคอื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อไต อาทิ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะทางเดินปัสสาวะอุดกั้น โรคหลอดเลือดฝอยไตอักเสบ (Glomerulonephritis) โรคเก๊าต์ หรือโรคนิ่วในไต เป็นต้น

นอกจากนี้ การกินยาแก้ปวดชนิด NSAIDs ต่อเนื่องยาวนานหรือการทานยาสมุนไพรบางชนิด ยังทำให้ไตทำงานหนัก จนเกิดโรคไตเรื้อรังได้ จึงควรระมัดระวังในการกินยาหรือสมุนไพรให้มากขึ้น หากไม่อยากให้โรคไตทรุดตัวเร็ว


สัญญาณโรคไต อาการแบบไหนที่ควรระวัง?

โรคไต อาการ

ผู้ป่วยโรคไตระยะเริ่มต้นอาจไม่แสดงอาการ หลายคนจึงมักไม่รู้ตัวว่าเป็น แต่เมื่อการทำงานของไตถดถอยไปเรื่อย ๆ ผู้ป่วยอาจสังเกตอาการได้มากขึ้น เช่น ปัสสาวะน้อยลง ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะมีฟองมากผิดปกติ โลหิตจาง เกิดความดันโลหิตสูง หน้าบวม ขาบวม เมื่อกดที่หน้าแข้งจะขึ้นเป็นรอยบุ๋มชัดเจน นอกจากนี้อาจมีอาการคันตามตัว คลื่นไส้ อาเจียน และเบื่ออาหารร่วมด้วย

หากไม่ต้องการให้โรคดำเนินไปถึงระยะรุนแรง ควรตรวจร่างกายเป็นประจำเพื่อคัดกรองโรค และเรียนรู้วิธีป้องกันโรคไตเบื้องต้นที่ถูกต้อง เพื่อชะลอการเข้าสู่ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายให้ได้นานที่สุด

5 วิธีป้องกันโรคไตเบื้องต้น ลดความเสี่ยงไตทรุดตัวเร็ว

วิธีป้องกันโรคไตเบื้องต้น เพื่อชะลอการทำงานของไต ไม่ให้ทรุดตัวไวเกินกำหนด ต้องอาศัยการปรับพฤติกรรมให้มีความเหมาะสมมากขึ้น โดยสามารถทำได้ดังนี้


1. ควบคุมอาหารอย่างเคร่งครัด

วิธีการป้องกันโรคไตและชะลอความเสื่อมของไต ต้องควบคุมอาหารอย่างเคร่งครัด อ่านฉลากโภชนาการก่อนทานเสมอ อาหารของคนโรคไตควรจัดให้มีสารอาหารครบถ้วน ลดหวาน มัน เค็มลง โดยใน 1 วันควรกินน้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชา เกลือไม่เกิน 1 ช้อนชา และน้ำมันไม่เกิน 6 ช้อนชา

สำหรับผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะที่ 3-5 ควรจำกัดปริมาณโปรตีนในแต่ละวัน โดยผู้ป่วยควรทานโปรตีนไม่เกิน 0.8-1.0 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กก. ส่วนผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไต ควรทานโปรตีนที่ 1.2-1.5 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กก. และดื่มน้ำปริมาณตามคำแนะนำแพทย์

ส่วนอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เนื้อสัตว์ติดมัน อาหารแปรรูป ของหมักดองรวมถึงอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง เช่น นม เครื่องในสัตว์ เมล็ดถั่ว น้ำอัดลม ชา กาแฟ เนื่องจากจะทำให้ไตทำงานหนักขึ้น


2. รักษาสุขภาพ ควบคุมอาการโรคร่วมให้เป็นปกติ

โรคไตเรื้อรัง อาจเป็นผลมาจากโรคอื่น ๆ เช่น เบาหวานลงไต ความดันโลหิตสูง โรคเก๊าต์ หรือโรคกรวยไตอักเสบ เพื่อดูแลไตให้เสื่อมสภาพช้าลง ควรเข้ารับการรักษาและคอยควบคุมอาการโรคร่วมอื่น ๆ ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติเสมอ อาทิ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ได้ 70-110 mg/dL การรักษาความดันโลหิตให้มีค่าประมาณไม่เกิน 130/80 มิลลิเมตรปรอท หรือการทานยาปฏิชีวนะเพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรียในผู้ป่วยโรคกรวยไตอักเสบ เป็นต้น


3. ออกกำลังกาย เสริมสร้างสุขภาพที่แข็งแรง

วิธีป้องกันไตเสื่อม เสริมสร้างสุขภาพที่แข็งแรงผู้ป่วยควรออกกำลังกายอย่างน้อย 3-5 วันต่อสัปดาห์ ครั้งละ 30-45 นาที ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย โดยเน้นออกกำลังกายระดับปานกลาง ที่ไม่สร้างความเหนื่อยล้ามากจนเกินไป เพื่อกระตุ้นระบบเผาผลาญให้ทำงานเต็มประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน ทั้งยังช่วยควบคุมความดันโลหิต และลดระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เป็นเหตุให้ไตเสื่อมช้าลง


4. ระมัดระวังในการใช้ยามากขึ้น

ผู้ป่วยควรใช้ยาทุกชนิดอย่างระมัดระวัง เลือกใช้ยาตามข้อบ่งชี้ และปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้มากขึ้น โดยยาที่ผู้ป่วยไตบกพร่องควรระวัง ได้แก่ ยาแก้ปวดในกลุ่ม NSAIDs เช่น Ibuprofen, Diclofenac, Piroxicam เป็นต้น เพราะการใช้ยานี้ต่อเนื่องยาวนานจะทำให้การไหลเวียนเลือดในไตผิดปกติ จนเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้

นอกจากนี้ไม่ควรใช้ยาหม้อ ยาลูกกลอนไร้ชื่อที่ผลิตขายทั่วไปในท้องตลาด เพราะอาจมีโลหะหนักกับสารสเตียรอยด์ปนอยู่มาก เมื่อสะสมเป็นเวลานาน จะเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อไตให้ได้รับความเสียหาย ก่อเกิดเป็นโรคไตเรื้อรังในท้ายที่สุด


5. งดสูบบุหรี่ถาวร

การงดสูบบุหรี่ เป็นวิธีป้องกันการเกิดโรคไตเบื้องต้นที่มีความสำคัญ เนื่องจากบุหรี่เป็นปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะไตวายเสื่อมมากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 60% โดยผลเสียจากการสูบบุหรี่ คือ ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง หากผู้สูบเป็นโรคความดันโลหิตอยู่แล้ว จะเร่งให้เกิดภาวะ Hypertensive Nephrosclerosis หรือภาวะไตเสื่อมจากความดันโลหิตสูง สำหรับคนที่เป็นเบาหวานก็อาจจะก่อให้เกิดความเสื่อมของไตเร็วกว่าปกติได้

อีกทั้งบุหรี่ยังเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะโปรตีนรั่วในน้ำปัสสาวะมากขึ้น เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งที่ไตชนิด Renal cell carcinoma และ Transitional cell carcinoma ฉะนั้น การเลิกบุหรี่ในผู้ป่วยโรคไตจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ไตเสื่อมช้าลง


วิธีป้องกันโรคไตเบื้องต้น เคล็ด(ไม่)ลับ ยืดเวลาก่อนเข้าสู่โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย

โรคไต เป็นโรคที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหลายด้าน ทั้งยังต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงในการดูแลรักษา จึงควรใส่ใจดูแลสุขภาพ หมั่นเข้ารับการตรวจร่างกายประจำปีสม่ำเสมอ เพราะหากสามารถตรวจพบโรคได้เร็ว ผู้ป่วยก็จะได้รับการรักษาจากแพทย์อย่างถูกต้อง ได้เรียนรู้วิธีรักษาโรคไตเบื้องต้น เพื่อนำไปใช้ในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของตัวเองให้เหมาะสมมากขึ้นตั้งแต่เนิ่น ๆ

จะช่วยป้องกันไม่ให้ไตเกิดความเสียหายหนักจนเกิดภาวะไตวายเรื้อรัง หรือสามารถชะลอความเสื่อมของไตให้ช้าลง ยืดเวลาก่อนเข้าสู่โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดปลูกถ่ายไต หรือต้องเข้ารับการฟอกไตไปตลอดชีวิตได้


คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับวิธีรักษาโรคไตเบื้องต้น

1. ไตฟื้นฟูตัวเองได้ไหม?

โรคไตวายเรื้อรัง เป็นภาวะที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เนื่องจากเนื้อเยื่อไตได้รับความเสียหายเป็นเวลานานจนเกิดพังผืดขึ้น การปฏิบัติตามวิธีป้องกันรักษาโรคไตเบื้องต้นจึงเป็นเพียงการชะลอความเสื่อมเท่านั้น เมื่อโรคดำเนินสู่ระยะสุดท้าย จะต้องรักษาด้วยการฟอกไตตลอดชีวิต แต่กรณีไตวายเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม อาจสามารถหายขาดและฟื้นฟูไตให้กลับมาเป็นปกติได้


2. กินเค็มเสี่ยงเป็นโรคไตจริงไหม?

รสเค็มทำให้เสี่ยงเป็นโรคไตจริง แต่ไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องทั้งหมด เพราะต้นตอที่แท้จริง คือ โซเดียมซึ่งแฝงอยู่ในอาหารหลายชนิด เช่น เครื่องปรุงรส น้ำจิ้ม ขนมขบเคี้ยว อาหารแปรรูป อาหารกึ่งสำเร็จรูป ผงชูรส เมื่อบริโภคโซเดียมมากเกิน จะทำให้ไตทำงานหนัก และมีโซเดียมสะสมในเลือดสูง เป็นเหตุให้ไตเสื่อม วิธีป้องกันโรคไตเบื้องต้น จึงต้องจำกัดโซเดียมให้ไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน