ผู้เขียน หัวข้อ: ผู้ป่วยโควิด 19 สายพันธุ์ลูกผสม (XBB*) เพิ่มขึ้น! เช็กด่วน! กลุ่มเสี่ยงที่ควรมาพ  (อ่าน 456 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 994
  • จำหน่ายเครื่องจักรอุตสาหกรรมและสินค้าอุตสาหกรรม
    • ดูรายละเอียด
สถานการณ์โควิด-19 ทั่วโลกยังคงมีความรุนแรงและยังต้องการการจัดการอย่างมีระบบเพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นในสังคมและเศรษฐกิจ ในประเทศไทย (ข้อมูลสายพันธุ์โควิดในไทย ระหว่างวันที่ 8 – 14 เม.ย. 2566) พบว่าสายพันธุ์ XBB มีจำนวนมากที่สุด อยู่ที่ 30% และ XBB.1.5 คิดเป็น 27.5% ในขณะที่ XBB.1.9.1 คิดเป็น 15% และ XBB.1.16 คิดเป็น 10%

โดยหลังจากเทศกาลสงกรานต์ ยอดผู้ติดเชื้อมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้น กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จึงได้เผนแพร่แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 27 วันที่ 18 เมษายน 2566 เพื่อเตรียมการจัดการในกรณีที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์ XBB รายละเอียด ดังนี้


การรักษา COVID-19

ผู้ติดเชื้อที่มีผลตรวจ ATK หรือ RT-PCR ต่อ SARS-CoV-2 ให้ผลบวก ทั้งผู้ที่มีอาการและไม่แสดงอาการ แบ่งเป็นกลุ่มตามความรุนแรงของโรคและปัจจัยเสี่ยงได้เป็น 4 กรณีดังนี้

1. ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรือสบายดี (Asymptomatic COVID-19)

    ให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอก ให้ปฏิบัติตนตามมาตรการชะลอการระบาดของ โควิด-19 ที่กระทรวงสาธารณสุขแนะนำ คือ DMH อย่างน้อย 5 วัน
    – Distancing เว้นระยะห่าง
    – Mask Wearing เพื่อลดการฟุ้งกระจายของละอองฝอย
    – Hand Washing หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ทั้งน้ำสบู่ และเจลแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ เพราะมีโอกาสที่เราจะนำมาสัมผัสใบหน้าโดยไม่รู้ตัวได้
    ไม่ให้ยาต้านไวรัส เนื่องจากส่วนมากหายได้เอง

2. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง /โรคร่วมสำคัญ (Symptomatic COVID-19 without pneumonia and no risk factors for severe disease)

    ให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอก ให้ปฏิบัติตนตาม DMH อย่างเคร่งครัด อย่างน้อย 5 วัน
    ให้การดูแลรักษาตามอาการ ตามดุลยพินิจของแพทย์

3. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง หรือ มีโรคร่วมสําคัญ
หรือ ผู้ป่วยที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยง แต่มีปอดอักเสบ (pneumonia) เล็กน้อยถึงปานกลางยังไม่ต้องให้ oxygen โดยแพทย์อาจพิจารณาให้ยาต้านไวรัสกับผู้ป่วยกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง ได้แก่

    อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป
    โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) ร่วมกับโรคปอดเรื้อรังอื่น ๆ
    โรคไตเรื้อรัง (CKD) (stage 3 ขึ้นไป)
    โรคหัวใจและหลอดเลือด
    โรคหลอดเลือดสมอง
    โรคมะเร็ง (ไม่รวมมะเร็งที่รักษาหายแล้ว)
    โรคเบาหวาน
    ภาวะอ้วน (น้ําหนักมากกว่า 90 กก. หรือ BMI ≥30 กก./ตร.ม.)
    ตับแข็ง (Child-Pugh class B ขึ้นไป)
    ภาวะภูมิคุ้มกันตำ่ (เป็นโรคที่อยู่ในระหว่างได้รับยาเคมีบําบัดหรือยากดภูมิหรือ corticosteroid equivalent to prednisolone 15 มก./วัน นาน 15 วัน ขึ้นไป)
    ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มี CD4 cell count น้อยกว่า 200 เซลล์/ลบ.มม

4. ผู้ป่วยยืนยันที่มีปอดอักเสบที่มี hypoxia (resting O2 saturation ≤94% ปอดอักเสบรุนแรง ไม่เกิน 10 วันหลังจากมีอาการ และได้รับ oxygen

    แนะนําให้ remdesivir โดยเร็วที่สุดเป็นเวลา 5-10 วัน ขึ้นกับอาการทางคลินิิก ควรติดตามอาการของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
    ร่วมกับให้ corticosteroid


คําแนะนําการรับผู้ปู่วยไว้ในโรงพยาบาล (Admission) โดยกรมการแพทย์

ผู้ป่วยที่มีอาการหรือลักษณะทางคลินิกต่อไปนี้ให้พิจารณารับรักษาในโรงพยาบาล

    มีไข้อุณหภูมิกายตั้งแต่ 39°C ขึ้นไป โดยวัดได้อย่างน้อยสองครั้งห่างกัน 4 ชั่วโมง ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง
    มีภาวะขาดออกซิเจน วัด O2 saturation ต่ำกว่า 94%
    มีภาวะแทรกซ้อน หรือการกําเริบของโรคประจําตัวเดิม
    เป็นผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงต่ออาการรุนแรง และไม่มีผู้อยู่ดูแลตลอดทั้งวัน
    มีภาวะอื่น ๆ ที่จําเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ตามดลยพินิิจของแพทย์
    ผู้ป่วยเด็กให้รักษาในโรงพยาบาลเมื่อมีข้อบ่งชี้ เช่น ต้องสังเกตอาการอย่างใกลช้ิด หรือให้สารน้ำทางหลอดเลือดดํา หรือต้องการออกซิเจน หรือเด็กที่มีอาการซึม กินได้น้อย มีภาวะขาดน้ําจากอุจจาระร่วงหรือชักจากไข้สูง ฯลฯ



ผู้ป่วยโควิด 19 สายพันธุ์ลูกผสม (XBB*) เพิ่มขึ้น! เช็กด่วน! กลุ่มเสี่ยงที่ควรมาพบแพทย์ อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/covid-19