ผู้เขียน หัวข้อ: หลายคนสงสัย ! การให้ อาหารสายยาง เจ็บหรือไม่ ?  (อ่าน 63 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 994
  • จำหน่ายเครื่องจักรอุตสาหกรรมและสินค้าอุตสาหกรรม
    • ดูรายละเอียด
หลายคนสงสัย ! การให้ อาหารสายยาง เจ็บหรือไม่ ?
« เมื่อ: วันที่ 23 กันยายน 2024, 20:00:02 น. »
หลายคนสงสัย ! การให้ อาหารสายยาง เจ็บหรือไม่ ?

การให้อาหารทางสายยาง เป็นรูปแบบการรักษาอีกรูปแบบหนึ่ง สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ หรือไม่สามารถกลืนอาหารเองได้ จึงจำเป็นจะต้องส่งอาหารไปถึงกระเพาะอาหารโดยตรง ซึ่งการให้อาหารทางสายยาง คือวิธีและทางเลือกที่ดีที่สุด

สำหรับการป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเกิดภาวะขาดสารอาหาร การให้อาหารทางสายยาง มีอยู่ 2 รูปแบบที่มักพบได้บ่อยๆคือ การให้อาหารทางจมูก และการเจาะกระเพาะอาหาร ซึ่งการให้อาหารทางสายยางจากจมูก จะมีการใส่สายยางให้อาหารไปที่รูจมูกข้างใดข้างหนึ่ง โดยผ่านไปในโพรงจมูกวกลงไปในคอหอยและหลอดอาหาร จนกระทั่งปลายสายยางอยู่ในตำแหน่งของกระเพาะอาหาร การให้อาหารทางสายยางจากจมูกนี้มักจะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหารได้เป็นเวลานาน


สำหรับการให้อาหารทางสายยาง โดยการเจาะกระเพาะอาหาร โดยสอดสายยาง จากแผลบริเวณผิวหนังที่หน้าท้องเข้าไปยังกระเพาะโดยตรง ซึ่งหลายคนมีคำถามว่า เมื่อผู้ป่วยได้รับอาหารทางสายยาง จะความเจ็บปวดหรือไม่ คำตอบคืออาจจะมีอาการเจ็บเพียงเล็กน้อย เวลาที่จะต้องสอดสายยางเข้าไปในร่างกาย อาจจะทำให้เกิดการระคายเคืองนิดๆ แต่สามารถทนได้


อย่างไรก็ตาม ร่างกายของผู้ป่วยที่ต้องรับประทานอาหารทางสายยาง ก็มีความจำเป็นที่จะต้องรับอาหาร ถึงแม้ว่าความอยากอาหารมักจะลดลงเมื่อเกิดภาวะความเจ็บป่วยหรือหลังการผ่าตัด แต่ภาวะเหล่านี้เป็นภาวะที่ควรได้รับอาหารที่เพิ่มขึ้น ด้วยร่างกายต้องต่อสู้กับการติดเชื้อ จึงมีความต้องการสารอาหารมาช่วยในเรื่องการหายของแผล และชดเชยปริมาณเลือดที่เสียไป


หรือแม้แต่การสูญเสียสารอาหารจากการอาเจียนและท้องเสียก็มีความจำเป็นที่ต้องได้รับการชดเชย โดยโรคบางอย่างและยาบางชนิดนั้นมีผลต่อการเกิดแผลในปาก ทำให้เกิดความเจ็บปวดขณะรับประทานอาหาร ทั้งนี้การให้อาหารทางสายยาง ผู้ดูแลจะต้องดูแลในเรื่องของความสะอาดของภาชนะและอาหารที่จะนำไปให้ผู้ป่วย

เพราะผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายยาง มีความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ง่าย ระบบขับถ่ายและระบบย่อยอาหารจะต้องมีความสมดุลกัน เพื่อไม่ให้เกิดอาการ ท้องเสีย หรืออาเจียน เนื่องจากอาหารเป็นพิษตามมา แต่โดยปกติจะหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดการแพ้ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หรือปวดศีรษะได้