ผู้เขียน หัวข้อ: รีไฟแนนซ์บ้าน 2567: รีไฟแนนซ์บ้าน ดอกเบี้ยเงินกู้แบงก์ไหนดี  (อ่าน 201 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 992
  • จำหน่ายเครื่องจักรอุตสาหกรรมและสินค้าอุตสาหกรรม
    • ดูรายละเอียด
คนที่ผ่อนบ้านผ่อนคอนโดอยู่ เมื่อผ่อนชำระตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ก็อาจมองหาเรื่องการลดภาระผ่อน ช่องทางการลดดอกเบี้ยให้น้อยลงใช่มั้ยคะ และยิ่งช่วงนี้ดอกเบี้ยบ้านยังมีอัตราที่สูงอยู่มากทีเดียว เงินที่ผ่อนไปแต่ละเดือนก็ไปโปะส่วนดอกเบี้ยจนแทบไม่ตัดเงินต้นเลย และทางเลือกสำหรับคนอยากลดภาระผ่อนบ้านก็คือ "รีไฟแนนซ์" วันนี้พาไปทำความเข้าใจกันอีกครั้งค่ะว่ารีไฟแนนซ์คืออะไร ทำอย่างไร และหากอยากรีไฟแนนซ์จะเลือกยังไง ตอนนี้ดอกเบี้ยเงินกู้แบงก์ไหนดี

รีไฟแนนซ์ คืออะไร?
คือ การขอสินเชื่อและผ่อนชำระกับสถาบันการเงินใหม่ เพื่อนำเงินที่กู้ใหม่นั้นมาชำระหนี้เดิม ซึ่งเหตุผลหลัก ๆ ของการรีไฟแนนซ์ก็คือ การได้รับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง ลดค่างวดที่ต้องจ่ายต่อเดือน
 
 รีไฟแนนซ์ มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?
1. ค่าประเมินราคาทรัพย์สิน เจ้าหน้าที่จะประเมินทรัพย์ ว่าปัจจุบันบ้านของเรามีมูลค่าอยู่ที่เท่าไหร่ เพื่อใช้ประกอบการอนุมัติวงเงินกู้ให้กับเรา ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละธนาคารด้วยค่ะ
2. ค่าจดจำนอง ต้องไปจดจำนองใหม่ ณ กรมที่ดิน ค่าใช้จ่าย 1% ของยอดสินเชื่อใหม่
3. ค่าอากรแสตมป์ อัตรา 0.05% ของยอดสินเชื่อใหม่ที่เราขอกู้
4. ค่าเบี้ยประกันภัย หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ ซึ่งในส่วนนี้แล้วแต่เงื่อนไขและข้อตกลงของแต่ละธนาคาร
5. ค่าเบี้ยปรับ โดยเกิดจากการขอรีไฟแนนซ์ในกรณีที่ผิดเงื่อนไขกับธนาคารเดิม เช่น ผ่อนชำระกับธนาคารเดิมไม่ถึง 3 ปี หรือตามเงื่อนไขในสัญญาเดิม ซึ่งอาจจะคิดในอัตรา 0-3% ของวงเงินกู้ (ในข้อนี้เราควรผ่อนชำระกับที่เดิมให้ครบ 3 ปี หรือครบตามเงื่อนไขในสัญญาเดิมก่อนนะคะ ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จะได้ไม่เกิด)
 
รีไฟแนนซ์ยังไง ให้คุ้มค่าที่สุด?
ต้องมองหาดอกเบี้ยที่ต่ำลงกว่าเดิม ยิ่งมากยิ่งดี เปรียบเทียบง่าย ๆ โดยดูจาก ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี แรก เพราะหลังจากนั้นอัตราดอกเบี้ยจะเป็นไปในลักษณะลอยตัว หรือ MLR หรือ ลอยตัวแล้วมีตัวลบ คือ MLR- ซึ่งอัตราดอกเบี้ย MLR ของแต่ละธนาคารจะไม่เท่ากัน ลองเปรียบเทียบอัตรดอกเบี้ยที่เราได้รับในปัจจุบันดูนะคะ


รีไฟแนนซ์บ้าน 2567: รีไฟแนนซ์บ้าน ดอกเบี้ยเงินกู้แบงก์ไหนดี อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://www.checkraka.com/money/article/111491