ผู้เขียน หัวข้อ: โรคมะเร็งกระดูก (Bone cancer)  (อ่าน 664 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 994
  • จำหน่ายเครื่องจักรอุตสาหกรรมและสินค้าอุตสาหกรรม
    • ดูรายละเอียด
โรคมะเร็งกระดูก (Bone cancer)
« เมื่อ: วันที่ 17 กันยายน 2023, 23:29:08 น. »
มะเร็งกระดูก ในที่นี้หมายถึงมะเร็งที่เกิดขึ้นจากเนื้อเยื่อของกระดูกเอง (ไม่หมายรวมถึงมะเร็งที่แพร่มาจากอวัยวะอื่น) เป็นมะเร็งที่พบได้น้อย (พบได้น้อยกว่าร้อยละ 1 ของมะเร็งทั้งหมด และมะเร็งกระดูกในเด็กพบได้ร้อยละ 3-5 ของมะเร็งที่พบในเด็กทั้งหมด) พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงเล็กน้อย

มะเร็งกระดูกมีอยู่หลายชนิด ส่วนใหญ่เป็นมะเร็งเซลล์กระดูก (osteosarcoma) ซึ่งพบมากในเด็กและวัยหนุ่มสาว โดยเฉพาะช่วงอายุ 10-20 ปี ส่วนน้อยเป็นมะเร็งเซลล์กระดูกอ่อน (chrondosarcoma) ซึ่งพบในคนอายุมากกว่า 50 ปี นอกนั้นอาจพบมะเร็งของเซลล์ชนิดอื่น ๆ


สาเหตุ

ยังไม่ทราบแน่ชัด พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งชนิดนี้ ได้แก่

-    ความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ พบว่าผู้ที่เป็นโรคกรรมพันธุ์บางชนิด เช่น Li-Fraumeni syndrome, มะเร็งลูกตาในเด็ก (retinoblastoma) เป็นต้น มีโอกาสเป็นมะเร็งกระดูกมากขึ้น
-    โรคกระดูกบางชนิด เช่น โรคพาเจตของกระดูก (Paget's disease of bone เป็นภาวะผิดปกติของเนื้อเยื่อกระดูก ทำให้กระดูกหนา และเปราะแตกหักง่าย) ซึ่งพบในคนอายุมากกว่า 50 ปี พบว่าผู้ที่เป็นโรคนี้มีโอกาสเป็นมะเร็งเซลล์กระดูก (osteosarcoma) ประมาณร้อยละ 1
-    การมีประวัติเคยได้รับการฉายรังสีรักษามะเร็งชนิดอื่นมาก่อน


อาการ

อาการแรกเริ่ม คืออาการปวดกระดูกตอนกลางคืน หรือตอนมีการใช้งานของแขนขา ซึ่งมักจะเป็นอย่างต่อเนื่อง ต่อมาจะพบว่ามีก้อนแข็งหรือปุ่มยื่นออกมาจากกระดูก ส่วนใหญ่พบที่กระดูกขา (บริเวณรอบ ๆ เข่า) และกระดูกแขน ส่วนน้อยพบที่บริเวณอื่น

บางรายอาจมาพบแพทย์ด้วยอาการกระดูกแตกหรือหักจากการกระทบกระแทกเล็กน้อย จนเข้าใจผิดว่าเป็นกระดูกแตกหักจากอุบัติเหตุทั่วไป หากไม่ได้รับการรักษา มะเร็งเซลล์กระดูกอาจแพร่กระจายไปที่ปอด ทำให้มีอาการหอบเหนื่อย


ภาวะแทรกซ้อน

ทำให้มีอาการเจ็บปวด กระดูกหัก ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง

มะเร็งแพร่กระจายผ่านกระแสเลือดไปที่อวัยวะอื่น ที่พบบ่อยคือไปที่ปอด ทำให้มีอาการเจ็บหน้าอก ไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด ภาวะมีน้ำหรือเลือดในช่องเยื่อหุ้มปอด หายใจลำบาก


การวินิจฉัย

แพทย์จะวินิจฉัยโดยการเอกซเรย์ สแกนกระดูก และตัดชิ้นเนื้อนำไปตรวจทางห้องปฏิบัติการ

หากพบว่าเป็นมะเร็งก็จะทำการตรวจเพิ่มเติมด้วยวิธีต่าง ๆ (เช่น เอกซเรย์, อัลตราซาวนด์, เอกซเรย์คอมพิวเตอร์, การถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า-MRI, การตรวจเพทสแกน- PET scan เป็นต้น) เพื่อประเมินว่าเป็นมะเร็งระยะใด


การรักษาโดยแพทย์

แพทย์จะให้การรักษาด้วยการผ่าตัดเป็นหลัก ถ้ามะเร็งมีขนาดเล็กจะทำการผ่าตัดกระดูกเฉพาะส่วนที่เป็นมะเร็งออกไป แล้วนำเนื้อเยื่อกระดูกปกติหรือกระดูกเทียมมาใส่แทน แต่ถ้ามะเร็งมีขนาดใหญ่ก็จำเป็นต้องตัดแขนหรือขาที่เป็นมะเร็งออกไป แล้วใส่แขนหรือขาเทียม


โรคมะเร็งกระดูก (Bone cancer) อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/