ทำอย่างไรถ้าเป็นโรคความดันโลหิตสูงก่อนอื่น ต้องได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องก่อน คือ ต้องนั่งพักสัก 10 นาที ก่อนวัดความดันและทุกครั้งที่วัดผู้ที่มีความดันโลหิตสูงเป็นครั้งคราว เรียกว่า Labile hypertension มีแนวโน้มจะเป็นโรคความดันโลหิตสูงในอนาคต จึงควรหมั่นตรวจวัดความดันบ่อยๆ
เกณฑ์ในการวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูงขององค์การอนามัยโลก WHO
ความดันตัวบน Systolic
ความดันตัวล่าง Diatolic
คนปกติ
<120 Systolic
<80 Diatolic
ภาวะก่อนเป็นความดัน
120-140 Systolic
80-90 Diatolic
โรคความดันโลหิตสูง
>140 Systolic
>90 Diatolic
เกณฑ์นี้ใช้ได้ทุกอายุ ไม่ได้แบ่งช่วงอายุเหมือนเกณฑ์เดิมที่เคยใช้มา และถ้าค่าใดค่าหนึ่งสูงกว่าปกติ ก็ถือว่าเป็นโรค ในผู้ป่วยภาวะก่อนเป็นความดัน (PRE-HYPERTENSION) จากการติดตามเป็นระยะยาว ก็พบโรคแทรกซ้อนเหมือนเป็นโรคความดันโลหิต
ความดันโลหิตตัวบน (Systolic) เป็นความดันในเส้นเลือดแดง ช่องที่หัวใจบีบตัว
ความดันโลหิตตัวล่าง (Diatolic) เป็นความดันในเส้นเลือดแดง ช่องที่หัวใจคลายตัว
ผลเสียของความดันโลหิตสูง
จากการศึกษาในต่างประเทศ โดยติดตามผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ที่ไม่ได้รับการรักษาต่อเนื่องเป็นเวลานานหลายปี เปรียบเทียบกับคนความดันปกติ FRAMINGHAM STUDY พบว่า ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง จะเป็นโรคทางสมอง (เส้นเลือดสมองตีบตัน หรือแตก) และโรคหัวใจ (ขาดเลือด) มากกว่าผู้ที่มีความดันปกติอย่างชัดเจน มีนัยสำคัญทางสถิติ
ดังนั้น ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ถึงแม้ไม่มีอาการใดๆ ก็สมควรต้องได้รับการรักษาควบคุมให้ความดันโลหิตลงมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ และจากการศึกษาก็พบว่าควรจะควบคุมให้ความดันต่ำกว่า 130/85 มิลลิเมตรปรอท จะมีโรคแทรกซ้อนน้อย
โรคแทรกซ้อนของความดันโลหิตสูง แบ่งเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ
สมอง เป็นได้ทั้งเส้นเลือดแตก หรือเส้นเลือดสมองอุดตัน เพราะความดันที่สูงอยู่นาน ทำให้เส้นเลือดเกิดการแข็งตัว มีคราบไขมันจับได้ง่าย ทำให้มีโอกาสที่คราบไขมันปริออก เกิดลิ่มเลือดมาเกาะ แล้วเกิดการอุดตัน ทำให้สมองขาดเลือด หรือในบางราย ความดันโลหิตสูงทำให้เส้นเลือดโป่งเป็นกระเปาะ แล้วแตกออก ทำให้เกิดเลือดคั่งในสมอง
หัวใจ กลไกการเกิดหัวใจขาดเลือด จะคล้ายกับเส้นเลือดอุดตันในสมองเมื่อหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจจะตาย ถ้าขาดเลือดกินพื้นที่มากก็จะทำให้เสียชีวิตกระทันหัน ถ้าพื้นที่น้อยจะหายด้วยแผลเป็น ทำให้การบีบตัวของหัวใจแย่ลง เกิดหัวใจวาย
โรคไต 10% ของอัตราการตายจากโรคความดันโลหิตสูง เกิดจากไตวายเรื้อรัง เพราะความดันที่สูงอยู่นานจะทำให้เส้นเลือดที่ไตเสื่อม และไตเสื่อมหน้าที่ลงเรื่อยๆ
การปฏิบัติตัว
ลดความเครียด
ควบคุมอาหารเค็ม และมัน การลดอาหารมันๆ ลงจะสามารถลดความดันโลหิตได้ เช่นเดียวกับการจำกัดปริมาณโซเดียม (อาหารเค็ม) ก็สามารถลดความดันโลหิตลงได้
ลดน้ำหนักตัว เพราะจากการศึกษาพบว่าถ้าลดน้ำหนักตัว 4.4 กก. ในช่วง 6 เดือน สามารถลดความดันโลหิตได้ 2.5 mmHg
ออกกำลังกาย การออกกำลังกายสามารถช่วยลดความดันโลหิตได้
ควบคุมปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น เบาหวาน, การสูบบุหรี่