แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - siritidaphon

หน้า: [1] 2 3 ... 66
1
Bigbike อย่าคิดว่าแน่!..จนลืม Basic Course

รถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ (Bigbike) หรือรถที่มีขนาดความจุเครื่องยนต์ตั้งแต่ 400 ซีซี ขึ้นไปตามหลักสากล ในปัจจุบัน สามารถเป็นเจ้าของได้ง่ายขึ้นและมีผู้เริ่มสนใจซื้อมาขับขี่กันแพร่หลายมากขึ้น ด้วยความแรงทรงพลังและความสปอร์ตหรือเท่ในแบบที่ไบค์เกอร์หลายคนอยากจะขับขี่ จนอาจมองข้ามเรื่องการเรียนรู้การขับขี่รถใหญ่ที่ถูกต้องและปลอดภัย และมองข้ามทักษีการควบคุมรถที่ปลอดภัย หรือ Basic Bigbike โดยทาง ThaiHonda จัดอบรมให้ความรู้เพื่อให้ขับขี่ได้อย่างปลอดภัยที่สุด
 
จำเป็นหรอ ก็ขี่ได้เหมือนรถเล็กแหละ?
นั่นไง ความคิดแบบนี้ ประมาทแล้วหนึ่ง เพราะรถขนาดใหญ่มีน้ำหนักมากขึ้น เครื่องแรงขึ้น การควบคุมคันเร่งและเบรกรวมถึงการทรงตัวจะต้องฝึกมากขึ้น การขับขี่ความเร็วต่ำ ขับขี่ความเร็วสูง การเลี้ยวในที่แคบ ฝึกการทรงตัวเมื่อต้องเลี้ยวในที่แคบ ๆ และความเร็วต่ำ
 

ทริคในการควบคุมบิ๊กไบค์ความเร็วต่ำแบบเกียร์ 1
 
หลายคนบอกง่าย ๆ แต่ความจริงแล้วบางสภานการณ์อาจเจอทางแคบมาก ๆ ไม่ถึง 90 ซม. และต้องเลี้ยงความเร็วแบบคลาน ๆ ซอกแซกไป ถ้าไม่ฝึกควบคุมคันเร่งและเบรกให้ชำนาญ อาตเกิดอันตรายได้ การขับขี่บิ๊กไบค์ทางแคบ ๆ ความเร็วต่ำ ต้องใช้เกียร์ 1 และ ห้ามใช้เบรกหน้าเด็ดขาด ให้ใช้เบรกเท้าเท่านั้น เพราะจะทำให้เสียการบาลานซ์หรือทรงตัว และล้มได้ ยกเว้นจำเป็นต้อวค่อย ๆ เคลื่อนตัวช้ามาก ๆ อาจใช้เท้าช่วยพยุงด้วย

การเลี้ยวที่แคบความเร็วต่ำ ๆ อาจใช้เกียร์ 2 และเน้นใช้เบรกหลังช่วย โดยไม่จำเป็นต้องคอยกำคลัตช์ตลอดเวลา ให้กำต่อเมื่อรถจะดับ เพื่อให้รวบคุมรวามเร็วและทิศทางได้อย่างสะดวกมากขึ้นกว่าต้องคอยกำคลัตช์บ่อย ๆ ทริคสำคัญในการควบคุมรถในทางแคบ ๆ คือ การใช้ช่วงขาท่อนบนหนีบตัวรถและให้นั่งชิดถังน้ำมัน โดยการใช้ลำตัวช่วงล่างช่วยบาลานซ์น้ำหนักและถ่วงให้จุดศูนย์รถต่ำลง ให้การเข้าโค้งได้ง่ายขึ้น
 
เคยไหมจะเลี้ยวกลับแต่ล้มแปะ!!!
ผมว่าหลายคนคงได้เคยเจอเคสนี้ ผมก็เช่นกันครับ คือ เมื่อจะเลี้ยวกลับ ต้องคอยขยับรถไปเรื่อย ๆ และหักล้อเลี้ยวไปด้วย แต่ก้จำเป็นต้องคอยเบรกไปด้วย จึงใช้เบรกล้อหน้า เพราะง่ายสุด แต่กลับเกิดอาการรถหัวทิ่มเกือบจะล้ม !!

จากการได้เข้าครอสฝึกครั้งนี้ การกลับรถก็เป็นจุดสำคัญในการขับขี่ในชีวิตประจำวันเช่นกัน โดยเฉพาะรถบิ๊กไบค์ เมื่อต้องการกลับรถลักษณะนี้ ควรใช้เท้าขวาเป็นัวควบคุมความเร็วหรือว่าเบรกแทนการใช้ล้อหน้า นอกจะจะช่วยเรื่องการทรงตัวแล้ว ยังลดอาการหน้าทิ่มไม่ให้รถล้มได้อีกด้วย และจำเป็นต้องฝึกบ่อย ๆ เพราะการพยุงรถต้องใช้เท้าซ้ายเป็นหลัก
 
ตามองไกล-ขาหนีบและแนบตัว

สายตาและศีรษะต้องมองไปทิศทางที่จะมุ่งหน้า ไกล ๆ มองล่วงหน้า ไม่ควรมองแค่ระยะใกล้ตัวเท่านั้น โดยเฉพาะกานเข้าโค้งต่าง ๆ มองที่ปลายโค้งไกล ๆ และหันศีรษะตามไปพร้อม ๆ กัน เพื่อให้ลำตัวช่วยในกานถ่ายเทน้ำหนักให้รถเข้าโค้งแคบ ๆ ในความเร็วต่ำได้ง่ายขึ้น ส่วนหัวเข่าต้องชิดแนบกับตัวรถ ปลายเท้าชี้ตรงข้างหน้า และเท้าซ้ายควรอยู่บนคันเกียร์ เท้าขวาพร้อมใช้เบรกเสมอ เพื่อให้การทรงตัวดีขึ้น ไม่ควรกางขาหรือเข่า และแขนไม่หุบชิดตัวหรือกางเกินไป ท่านั่งต้องหลวม ๆ สบาย ๆ แขนและศอกงอเล็กน้อย

การจัดท่านั่งที่เหมาะสมจะช่วยให้ร่ายการสามารถควบคุมรถได้ดี มีช่วงยืดยุบตัวหรือช่วงแขนที่เคลื่อนไหวได้เมื่อต้องการจะเลี้ยวก็จะยิ่งทำให้หารบังคับแฮนด์ได้อย่างอิสระและปลอดภัยมากกว่าการนั่งผิดท่าและจัดการวางเท้าหรือแขนไม่ได้พอ นอกจากนี้ให้ปรับท่านั่งไปตามลักษณะหรือประเภทของรถนั้น ๆ


คุณเบรกเป็นมั้ย?
 
ก่อนจะเบรกต้องเริ่มจากออกตัวให้ปลอดภัยก่อน เช่น การมองด้านหลังทางขวาก่อนออกรถทุกครั้ง เพื่อป้องกันรถที่มีจากทางขวาเสมอ การเบรกแม้จะดูพื้นฐานแต่การใช้เบรกในบิ๊กไบค์อาจมีเทคนิคปลอดภัยมากกว่าที่คิด!!  เริ่มด้วยการเฉลี่ยน้ำหนักเบรกหน้าหลังต้องฝึกฝนบ่อย ๆ ด้วยรถที่ตัวใหญ่น้ำหนักมากกว่ารถเล็กแน่ ๆ ทำให้การเบรกนั้นจะต้องคุ้นเคยและใช้งานได้ปลอดภัยจริง ๆ ด้วย โดยการเริ่มฝึกเบรกในจุดที่กำหนด ด้วยกานกำเบรกหน้าทั้ง 4 นิ้ว สัดส่วนราว ๆ 60% เบรกเท้าจะน้อยกว่าเพียง 40% หรืออาจน้อยกว่านั้น การเบรกจะต้องเอนตัวไปด้านหลังให้บาลานซ์กำรถเวลายถบตัวไปด้านหน้าด้วย
 
กรณีนี้เป็นการฝึกเบรกแบบฉุกเฉน จนรถหยุดนิ่ง เหมือนมีอะไรตัดหน้าจึงไม่ต้องสนใจการตบเกียร์ลง เพียงคอยกำคลัตช์ก่อนจะหยุดสนิทเท่านั้น แล้วค่อยเปลี่ยนเกียร์ 1 ออกตัวต่อไป การฝึกนี่เป็นกสรทำความคุ้นเคยและควบคุมรถเมื่อต้องเบรกแรง ๆ นั่นเองครับ และการออกตัวก็สำคัญเช่นกันต้องโน้มตัวมาด้านหน้าเล็กน้อยเพื่อชดเชยการเอนตัวไปด้านหลังของรถ เพื่อจัดบาลานซ์นั่นเองครับ ซึ่งการฝึกแบบนี้จะช่วยให้รู้จักระยะเบรกและการกะระยะรวมถึงน้ำหนักเท้าและมือในการใช้เบรกอย่างถูกต้องจนเกิดความชำนาญ
 

การยกรถ
การยกรถที่ถูกต้องนั้น นอกจากผู้ขับขี่จะปลอดภัยมาก่อนแล้ว การยกรถควรทำตามขั้นตอนที่ปลอดภัย เมื่อรถล้มการยกรถขึ้นจะต้องมีท่าทางที่ถูกต้องและปลอดภัยต่อตัวผู้ยก โดยต้องระวังการใช้หลังออกแรงมากเกินไป อาจทำให้บาดเจ็บได้ โดยวิธีที่ถูกได้แก่

ดับหรือปิดสวิตช์กุญแจ แม้ปุ่มฉุกเฉินจะปิดแล้วก็ตามพร้อมตรวจสอบพื้นที่รอบ ๆ ว่ามั่นคงในการยืนหรือไม่
ยืมฝั่งที่รถล้มและจับแฮนด์ทั้ง 2 ฝั่งพร้อมกำเบรดหน้าเอาไว้เสมอ (หากรถล้มฝั่งที่ไม่มีขาตั้งให้กางขาตั้งขึ้นก่อน)
ใช้สะโพกและหน้าขาช่วงบนดันและใช้การถ่ายน้ำหนักจากขาค่อย ๆ ขยับดันรถขึ้น
ตั้งรถให้เรียบร้อยโดยตลอดการยกรถขึ้นต้องกำเบรกหน้าตลอด
ตรวจสอบความเสียหายของรถ ว่าขับขี่ได้หรือไม่

 
4 เช็คก่อนขับขี่

ย้ำอีกครั้งกับการเริ่ม Basic ของการขับขี่รถจักรยานยนต์ทุกแบบทั้ง รถเล็กรถใหญ่ สกู้ตเตอร์หรือรถมีและไม่คลัตช์ ก็จะต้องใช้ 4 เช็คนี้ก่อนขับขี่ ทุกครั้ง เพื่อให้รับรู้ถึงสภาพตัวรถให้ขับได้อย่างปลอดภัย
 
1. ตรวจสอบนะดับน้ำมัน
ก่อนจะเดินทางการตรวจเช็คระดับน้ำมันสำัญมาก เพื่อเป็นการคำนวนหรือประมาณการเดินทางให้ถึงจุดหมายได้อย่างสบายใจ หรืออาจต้องวางแผนในการแวะเติมน้ำมัน
2. ระบบเบรก
ตรวจเช็คโดยการเข็นรถแล้วลองกำเบรกหรือขึ้นคร่อมรถเข็นรถแล้วลองทดสอบเบรกว่าหยุดสนิทหรือไม่
3. ระบบไฟส่องสว่าง
ตรวจดูระบบไฟหน้า ไฟท้าย ไฟเลี้ยว ไฟในแบตฯ ไฟบนมาตรวัดว่าทำงานปกติหรือไม่
4. สภาพยาง
ตรวจความแข็งอ่อนของลมยางด้วยการใช้เล็บจิกหรือกดลงที่แก้มยาง ให้ตึง ๆ มือ หากกดจนยุบมากไปแสดงว่าลมยางอยู่ระดับต่ำ
 
ท่าขับ 7 จุด
 
1.สายตา มองไกลมองทิศทางที่จะไป
2.ไหล่ ผ่อนคลาย ไหล่ฝั่งที่เลี้ยวระดับต่ำกว่าไหล่ตรงข้าม
3.แขน ย่อนผ่อนคลาย ขยับอิสระได้ ศอกหลวม ๆ ไม่ชิดลำตัวหรือกางเกินไป
4.มือ นิ้วโป้งล็อคใต้แฮนด์ ข้อมือห้ามต่ำกว่าฝ่ามือ
5.เอว สะโพก นั่งชิดถังน้ำมันกรณีรถสปอร์ต หรือถ่ายเทน้ำหนักกลาง ๆ รถ ตามสรีระแต่ละคน
6.เข่า ชิดหรือหนีบกับตัวรถ
7.ปลายเท้า ชี้ตรงไม่กางออก เวลาเปลี่ยนเกียร์แล้วเอาเท้าวางปกติไม่สอดใต้คันเกียร์

หวังว่านักบิดทั้งมือใหม่มือเก่าจะหันมาสนใจการฝึกเบื้องต้นในการขับรถบิ๊กไบค์ หรือจะรถเล็ก สกู้ตเตอร์ก็จำเป็นเช่นกัน เพราะความปลอดภัยสำคัญกว่าความประมาท ส่วนใครสนใจจะลงสมัครเรียนครอสพิเศษนี้ มีให้ตั้งแต่ Basic/Skill/Pro-Advance แล้วจะรู้ว่าที่เราคิดว่า "ขี่เป็นแล้วไปเรียนทำไมนั้น" หลายคนต้องมีล้มแปะในสนามกันบ้างแน่ ๆ

2
บ้านเดี่ยว เดอะ ปาล์ม เรสซิเดนเซส วัชรพล (The Palm Residences Watcharapol)
เริ่มต้น 30 ลบ. - 40 ลบ. 

เดอะ ปาล์ม เรสซิเดนเซส วัชรพล (The Palm Residences Watcharapol)
The Palm Residences แห่งใหม่จาก พฤกษา เรียลเอสเตท โครงการบ้านเดี่ยวระดับซูเปอร์ลักชัวรี บนทำเลวัชรพล ภายใต้คอนเซ็ปต์ "The Mastery of Wellness and Exquisite Living" โดดเด่นด้วยสไตล์คลาสสิค French Hussmann เอกสิทธิ์ความเป็นส่วนตัวเพียง 40 ยูนิต พร้อมส่วนกลางที่คุ้มค่า

รายละเอียดโครงการ
 ชื่อโครงการ           เดอะ ปาล์ม เรสซิเดนเซส วัชรพล (The Palm Residences Watcharapol)
 เจ้าของโครงการ     พฤกษา เรียลเอสเตท
 แบรนด์ย่อย           เดอะ ปาล์ม
 ราคา                   เริ่มต้น 30 ลบ. - 40 ลบ.

 ประเภทบ้าน             บ้านเดี่ยว
 ลักษณะทำเล           บ้านใกล้เมือง
 พื้นที่โครงการ           โปรดสอบถามข้อมูลกับทางโครงการ
 จำนวนบ้าน               40 หลัง
 แบบบ้านทั้งหมด       โปรดสอบถามข้อมูลกับทางโครงการ
  เนื้อที่บ้าน               โปรดสอบถามข้อมูลกับทางโครงการ
 พื้นที่ใช้สอย            โปรดสอบถามข้อมูลกับทางโครงการ
 จำนวนชั้น                 2 ชั้น
 หน้ากว้าง                โปรดสอบถามข้อมูลกับทางโครงการ
 จำนวนห้องนอน        โปรดสอบถามข้อมูลกับทางโครงการ
 จำนวนที่จอดรถ         โปรดสอบถามข้อมูลกับทางโครงการ
 สาธารณูปโภค            สวนสาธารณะ, คลับเฮาส์, สระว่ายน้ำ, ฟิตเนส, รปภ., CCTV, อื่นๆ (Jacuzzi, พาวิลเลียน, Private Lounge, Grand Club), สนามเด็กเล่น, Jogging Track

สถานที่ใกล้เคียง
 โซน       แจ้งวัฒนะ, หลักสี่, ดอนเมือง, บางเขน
 ที่ตั้ง       ถนนวัชรพล แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220

 ขนส่งสาธารณะ
ใกล้รถไฟฟ้า, รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม, สถานี(หมอชิต - คูคต)(สายหยุด)
ใกล้รถไฟฟ้า, รถไฟฟ้าสายสีชมพู, สถานี(แคราย - มีนบุรี)(วัชรพล)
ใกล้ถนนสายหลัก (ถนนวัชรพล, ถนนวงแหวนรอบนอกตะวันออก)
ขนส่งอื่นๆ ท่าอากาศยานดอนเมือง

 สถานที่สำคัญใกล้เคียง
ศูนย์การค้า/ ไลฟ์สไตล์
1. คริสตัล ดีไซน์ เซ็นเตอร์ (CDC) 10.2 กม.
2. เซ็นทรัล เฟสติวัล อีสต์วิลล์ 10.8 กม.
3. เซ็นทรัล พลาซ่า ลาดพร้าว 16.5 กม.

สถานศึกษา
1. AUSTRALIAN INTERNATIONAL SCHOOL 0.8 กม.
2. LERTLAH SCHOOL 7.8 กม.
3. HARROW INTERNATIONAL SCHOOL 12 กม.
4. SINGAPORE INTERNATIONAL SCHOOL OF BANGKOK 13 กม.
5. BRIGHTON COLLEGE BANGKOK 15 กม.

สถานพยาบาล
1. โรงพยาบาลซีจีเอช 5.8 กม.
2. โรงพยาบาลพญาไท นวมินทร์ 7.3 กม.
3. โรงพยาบาลวิภาวดี 13.7 กม.
4. โรงพยาบาลกรุงเทพ 18.4 กม.
5. โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท 19.8 กม.
6. โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ 24.5 กม.

3
ชุดปฏิบัติธรรม ชุดแม่ชี เราเป็น โรงงานผลิตโดยตรง
ตัดเย็บปราณีต ทรงสวย เรียบหรู ดูสง่างดงาม
ผลิตจาก ผ้าฝ้ายแท้ 100% เกรดพรีเมียม

ชุดปฏิบัติธรรม ชุดขาวไปวัด ชุดแม่ชี
– ราคาแยกรายชิ้น –
ทอย้อมจากโรงงานอุตสาหกรรมชั้นดี
พร้อมส่งทุกไซส์
(กรณีสั่งตัดไซส์พิเศษ รอผลิต 7-10 วัน)
จัดส่งฟรี‼ เมื่อลูกค้าโอนชำระ
มีบริการเก็บเงินปลายทาง (+ตัวละ 10.-)

รับตัดชุดขาวไซส์ใหญ่พิเศษ
หมดกังวล หาไซส์ไม่ได้ ทางร้านเป็นโรงงานผลิตโดยตรง
สามารถสั่งตัดชุดได้ตามความต้องการ รอผลิต 7-10 วันทำการ

ร้านอริยทรัพย์ ชุดขาวปฏิบัติธรรม
เบอร์มือถือ :  092-926-4142 , 063-289-5356
Facebook : ชุดขาวปฎิบัติธรรม อริยทรัพย์
Instagram : ariyasub.shop
ID Line : @ariyasub (มี@)
เว็บไซด์: https://ariyasub99.com/
สนใจตัดชุดขาวไซซ์พิเศษ ติดต่อมาได้เลยค่ะ

สัมผัสประสบการณ์ใหม่
จากผ้าฝ้ายแท้ 100%
 นุ่มสบาย ไม่ร้อน ไม่ระคายคือง
ใส่ใจทุกขั้นตอนการผลิต ตั้งแต่การคัดสรรเนื้อผ้า
การตัดเย็บ รวมไปถึงการจัดส่งแบบปกติ
และจัดส่งเร่งด่วน (Kerry EMS Grab)

ชุดขาวปฎิบัติธรรม ชุดขาวหญิง ชุดแม่ชี คุณภาพ
เน้นคุณภาพใส่ใจทุกขั้นตอน ตัดเย็บงานผ้าฝ้ายคุณภาพ (cotton 100%)
สวมใส่สบาย ระบายความร้อนได้ดี ไม่อึดอัด

ชุดปฎิบัติธรรมชาย คุณภาพ
เน้นคุณภาพใส่ใจทุกขั้นตอน ตัดเย็บงานผ้าฝ้ายคุณภาพ (cotton 100%)
สวมใส่สบาย ระบายความร้อนได้ดี ไม่อึดอัด


ร้านอริยทรัพย์ ชุดขาวปฏิบัติธรรม
เบอร์มือถือ :  092-926-4142 , 063-289-5356
Facebook : ชุดขาวปฎิบัติธรรม อริยทรัพย์
Instagram : ariyasub.shop
ID Line : @ariyasub (มี@)
เว็บไซด์: https://ariyasub99.com/
สนใจตัดชุดขาวไซซ์พิเศษ ติดต่อมาได้เลยค่ะ








4
จัดฟันบางนา: ฝังรากฟันเทียม เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจ !

การฝังรากฟันเทียม เป็นการทำการทันตกรรม เพื่อทดแทนการสูญเสียฟันธรรมชาติ ซึ่งการทำรากฟันเทียมนั้น ถือว่าการใช้งานเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะการใช้งานรากฟันเทียม หลังจากการฝังลงไปในกระดูกขากรรไกรแล้ว สามารถใช้งานได้อย่างเป็นธรรมชาติ การฝังรากฟันด้วยระบบดิจิตอล จะเป็นเครื่องตรวจปริมาณและความหนาแน่นของกระดูกที่จะใช้รองรับรากฟันเทียม รวมไปถึงจะสามารถแสดงโครงสร้างที่สำคัญของกระดูก เพื่อให้การวางแผนการรักษาทางทันตกรรมที่มีประสิทธิภาพและถูกต้อง แม่นยำมากที่สุด

นอกจากนี้การฝังรากฟันเทียมด้วยระบบดิจิตอล ยังสามารถลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาด้ววยการฝังรากฟันเทียมแบบเดิมๆได้อีกด้วย ถือว่าเป็นการนำนวัตกรรมที่ทันสมัยเข้ามาช่วยในการรักษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานอีกด้วย

สำหรับการฝังรากฟันเทียมด้วยระบบดิจิตอล แน่นอนว่า การที่ได้นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการรักษา ย่อมปรากฎผลการรักษาที่แม่นยำและถูกต้อง ตั้งแต่เรื่องของการวางแผนการรักษาและการฝังรากฟันเทียมที่ใช้โปรแกรม CT Scan เข้ามาช่วยกำหนดตำแหน่ง ซึ่งแน่นอนว่า การรักษาด้วยการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมด้วยระบบดิจิตอล

เป็นการรักษาทางทันตกรรมที่ทันสมัย มีความปลอดภัยกว่า มีบาดแผลที่เล็กและมีความเจ็บปวดที่น้อยกว่า การฝังรากฟันเทียมแบบเดิมๆ รวมถึงระยะเวลาในการผ่าตัดก็ยังรวดเร็ว และปลอดภัย ไม่ทำให้เส้นประสาทเกิดความเสียหาย ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน และไม่มีผลข้างเคียง ภายหลังจากการผ่าตัด แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เข้ารับการรักษาจะต้องปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของทันตแพทย์ผู้ทำการรักษา เพื่อให้ผลการรักษาที่อัตราความสำเร็จที่สูงขึ้นไปอีก

สำหรับผู้ที่สนใจหรือต้องการที่จะเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังรากฟันเทียม สามารถเข้ามาติดต่อเจ้าหน้าที่ของทางคลีนิคได้ ด้วยทางเรามีบริการด้านการทันตกรรมที่ครบวงจร มีทีมทันตแพทย์ที่มีประสบการณ์มาอย่างยาวนาน มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของรากฟันเทียม รวมไปถึงทางคลีนิคของเรายังมีเครื่องมือและอุปกรณ์ทางทันตกรรมทีทันสมัย รองรับการรักษาที่มีมาตรฐานระดับสากล หากสนใจเข้ารับการรักษา สามารถเข้ามาข้อคำแนะนำหรือสามารถเข้ามาปรึกษาทันตแพทย์เพื่อทำการประเมินช่องปากได้ รับรองได้ว่า คุณจะได้รับการบริการที่ประทับใจ และมีสุขภาพฟันที่ดีอย่างแน่นอน

5
การใช้เครื่องมือจัดฟันเด็ก EF LINE ช่วยปรับปรุงการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อใบหน้าในเด็กได้ดี

 ในการจัดฟันในเด็ก หลายคนคงเคยได้ยินว่า การจัดฟันในเด็กนั้น สามารถแก้ไขปัญหาฟันในเด็กได้หลากหลายรูปแบบ  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกล้ามเนื้อบนใบหน้า ปัญหารูปร่างฟันที่ผิดปกติ แน่นอนว่าการจัดฟันในเด็ก สามารถแก้ไขปัญหาฟันเด็กได้อย่างหลากหลาย ซึ่งเด็กสามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่ตอนที่เด็กอายุ 4 ขวบ พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถพาเด็กเข้ามาตรวจช่องปากกับทันตแพทย์จัดฟันได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ฟันแท้งอกครบทุกซี่ เพราะเป็นช่วงที่ฟันกำลังพัฒนาและขากรรไกรเติบโต และถ้าตรวจพบปัญหาฟันซ้อน

การสบฟันผิดปกติ จะสามารถแก้ไขได้ง่ายมากกว่าการจัดฟันตอนโต ซึ่งเครื่องมือการจัดฟันที่เหมาะสำหรับเด็กในวัยนี้คือ การจัดฟันด้วยเครื่องมือ EF LINE เพราะเป็นเครื่องมือที่เด็กสามารถใส่ได้อย่างสะดวก มีลักษณะเป็นชิ้นยางไม่ทำให้รู้สึกระคายเคืองช่องปากและสามารถแก้ไขปัญหา กล้ามเนื้อบนใบหน้าได้ด้วย ในเด็กที่มีพฤติกรรมการดูดนิ้ว ดูดขวดนม นอกจากนี้เด็กที่มีปัญหา ฟันหน้ายื่น มีฟันสบผิดปกติ

เพราะอาจทำให้ขากรรไกรเติบโตแบบไม่สมดุลกัน มีปัญหาช่องฟันห่าง เพราะช่วยปรับให้ซี่ฟันอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง และง่ายต่อการขึ้นของฟันแท้ ขากรรไกรไม่ได้สัดส่วนกับหน้า เพราะเจริญเติบโตผิดปกติ หรือการกลืนผิดปกติ และนอนหายใจทางปาก ซึ่งปัญหาเหล่านี้แก้ไขได้ด้วยเครื่องมือ EF LINE ซึ่งวันนี้ทางคลินิกของเราจะมาพูดถึงเรื่องของเครื่องมือ EF LINE ช่วยปรับปรุงการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อใบหน้าในเด็กได้ดี

 สำหรับเครื่องมือ EF LINE นั้น จัดเป็นงานการประยุกต์และปรับปรุงการเจริญเติบโตซึ่งจะได้ผลดีเมื่อเริ่มในเด็ก เหมาะสำหรับเด็กที่มีการสบฟันแบบ ฟันบนยื่นมากสามารถแก้ไขได้ภายใน 6-9 เดือน โดยการใช้เครื่องมือ EF LINE จะทำในเด็กที่อยู่ระหว่างการเจริญเติบโต หรือก่อนการเจริญเติบโตสูงสุดของร่างกาย ซึ่งถ้าเด็กอยู่ในระยะฟันชุดผสมจะให้ผลดี หรือในเด็กที่มีโครงสร้างใบหน้าผิดปกติ

การให้การรักษาก่อนถึงระยะการเจริญเติบโตประมาณ 2-3 ปี ทั้งในเด็กหญิงและเด็กชายจะให้ผลลัพธ์ดีและปลอดภัย นอกจากนี้ยังช่วยแก้ไขปัญหาหายใจทางปาก ปัญหาการวางตำแหน่งลิ้นไม่ถูกต้อง และการกลืนที่ผิดปกติ พร้อมกับการจัดฟันให้ดีขึ้น ทำให้ประหยัดเวลาและง่ายต่อการจัดฟันด้วยเครื่องมือติดแน่น ลดปัญหาฟันเคลื่อนหลังถอดเครื่องมือจัดฟันติดแน่นได้ด้วย โดยเครื่องมือ EF line สามารถใช้ได้ตั้งแต่อายุ 4-15 ปี

โดยเครื่องมือในกลุ่มนี้มีความหลากหลายในการแก้ปัญหาที่แตกต่างกัน เช่น ปัญหารูปหน้าที่มีคางหลุบ ค้างเบี้ยวกระดูกและฟันบนยื่น และกรณีที่เด็กมีรูปหน้าสั้นซึ่งต้องการเพิ่มความสูงใบหน้า เป็นต้น ซึ่งทันตแพทย์จะพิจารณาในการรักษาให้เหมาะสมกับปัญหาของเด็กแต่ละคน สำหรับเด็กที่มีคางเบี้ยว ขากรรไกรล่างเยงแบนไปจากแนวกลางใบหน้า เนื่องจากตำแหน่งฟันผิดปกติ

การสูญเสียฟันน้ำนมไปก่อนกำหนด จะมีผลทำให้กระดูกเบ้าฟันบริเวณนั้นเจริญเติบโตน้อยกว่าปกติ และมีการเคลื่อนที่ของฟันข้างเคียงเข้าสู่ช่องว่างนั้นแคบลง ไม่มีที่เพียงพอสำหรับการขึ้นของฟันแท้ที่จะขึ้นมาแทนที่ ดังนั้น เครื่องมือการจัดฟัน EF LINE สำหรับเด็กจึงมีประสิทธิภาพมากในการแก้ไขปัญหากล้ามเนื้อใบหน้าและปัญหาความผิดปกติของฟันได้เป็นอย่างดี

ถ้าหากพบว่า บุตรหลานของท่านมีปัญหาในเรื่องของโครงสร้างใบหน้า หรือกล้ามเนื้อใบหน้าที่มีความผิดปกติ พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ควรมองข้าม ควรพาบุตรหลานของท่านเข้ารับการแก้ไข เพื่อที่จะได้มีรูปหน้าที่สวยงาม มีสุขภาพช่องปากและฟันที่ดี เพราะการที่เรามีฟันที่เรียงตัวสวยงาม จะช่วยส่งเสริมในเรื่องของการดูแลสุขภาพฟันที่ง่ายมากขึ้น ทำให้เราทำความสะอาดฟันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ตาม หากพ่อแม่ผู้ปกครองท่านใด สนใจพาบุตรหลานของท่านเข้ารับการจัดฟันในเด็ก หรือมีปัญหาเกี่ยวกับความผิดปกติดังกล่าว สามารถติดต่อขอรับคำแนะนำได้ที่คลินิก เพราะทางเรามีทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษา และช่วยวิเคราะห์ใบหน้าและหาแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด เพื่อให้เด็กมีสุขภาพช่องปากและฟันที่ดี และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

6
ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเสียงดัง
ในโรงงานอุตสาหกรรม
โรงงานหรือสถานประกอบกิจการที่มีปัญหาด้านเสียงเกินค่ามาตรฐาน อาจสร้างผลกระทบทั้งด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานต่อพนักงานในโรงงานเอง หรืออาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงต่อชุมชนและสภาพแวดล้อมที่อยู่ด้านนอกโรงงาน หากเจ้าของแหล่งกำเนิดเสียงหรือผู้เกี่ยวข้องปล่อยปละละเลย ไม่จัดทำโครงการควบคุมเสียงหรือแก้ไขปัญหาดังกล่าวไม่สำเร็จ จะทำให้มีผลกระทบตามมา เช่น
•   เป็นผู้กระทำผิดกฎหมายด้านเสียง มีทั้งโทษปรับและจำคุก
•   ลูกจ้างอาจเกิดภาวะสูญเสียการได้ยินแบบชั่วคราวหรือแบบถาวร
•   ประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานลดลงจากเสียงเกินค่ามาตรฐาน
•   ถูกร้องเรียนจากชุมชนหรือผู้ได้รับผลกระทบทางเสียงที่อยู่นอกโรงงาน
•   โรงงานหรือสถานประกอบกิจการอาจถูกสั่งปิดปรับปรุง จนกว่าจะแก้ไขแล้วเสร็จ

ทำไมต้องใช้บริการจาก
“NEWTECH INSULATION” ในการควบคุมเสียง?
ด้วยประสบการณ์กว่า 15 ปี ในการควบคุมเสียงอุตสาหกรรม เรามีความพร้อมทั้งด้านบุคลากรเฉพาะทางที่มีความรู้ด้านเสียงและความสั่นสะเทือน เครื่องมืออันทันสมัยที่ได้มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด รวมถึงประสบการณ์ด้านการแก้ไขปัญหาเสียงอุตสาหกรรมที่มีทั้งในและต่างประเทศ ผู้ใช้บริการจึงมั่นใจได้ว่าปัญหาด้านเสียงในโรงงานหรือสถานประกอบกิจการจะได้รับการแก้ไขได้อย่างตรงจุด ด้วยค่าใช้จ่ายที่น้อยที่สุด เพราะเราเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุมเสียงในอุตสาหกรรม
– บริษัทฯ ขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตเป็นนิติบุคคลผู้ให้บริการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทำงานเกี่ยวกับระดับเสียง โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
– บุคลากรของบริษัทฯ ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ควบคุมมลพิษเสียงและความสั่นสะเทือน จากสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
– มีทีมงานที่มากประสบการณ์และความรู้ ได้แก่ วิศวกร นักสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ช่างเทคนิค รวมไปถึงช่างประกอบและติดตั้งระบบควบคุมเสียง
– มีเครื่องมือที่ได้มาตรฐานไว้ให้บริการทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
– มีสินค้าสำหรับควบคุมเสียงและความสั่นสะเทือนให้เลือกหลากหลายรูปแบบ เช่น ผนังกันเสียง ห้องเก็บเสียง ม่านกันเสียง ตู้ครอบลดเสียง แจ็คเก็ตลดเสียง ไซเลนเซอร์ อคูสติคลูเวอร์ อุปกรณ์แยกความสั่นสะเทือน เป็นต้น
– มีการประเมินหรือทำตัวแบบจำลองระดับเสียง ก่อน-หลัง ปรับปรุงให้ลูกค้าใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาในการแก้ปัญหาด้านเสียง
– รับประกันระดับเสียงที่ลดลง อยู่ในเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
– รับประกันคุณภาพสินค้าและฝีมือการติดตั้งทุกงาน

บริษัท นิวเทค อินซูเลชั่น จำกัด
ผู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุมเสียงในโรงงานอุตสาหกรรม
จากประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาด้านเสียงมายาวนาน ไม่ว่าจะเป็นเสียงทางอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน และเสียงทางสิ่งแวดล้อม
ทางบริษัทฯ ยินดีให้คำแนะนำที่ทำได้จริงสำหรับการแก้ปัญหาด้านมลภาวะทางเสียงที่เกิดขึ้น เพื่อให้ทั้งโรงงาน พนักงาน หรือชุมชนโดยรอบอยู่ร่วมกันได้
“เพราะเรา…เข้าใจเรื่องเสียง”


สนใจสั่งซื้อ
เบอร์โทร:  02-583-8035 , 02-583-8034, 098-995-4650
E-mail: contact@newtechinsulation.com
Line ID: @newtechinsulation
Facebook: newtechthai
Instagram: newtechinsulation
เว็บไซด์: https://www.noisecontrol365.com/



7
ตรวจอาการเบื้องต้นด้วยตนเอง: โรควิตกกังวล (Anxiety disorders) โรคกังวลทั่วไป (Generalized anxiety disorder/GAD)

โรคกังวลทั่วไป จัดเป็นโรควิตกกังวล* ที่พบได้บ่อยชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยจะมีภาวะวิตกกังวลมากเกินกว่าเหตุเกี่ยวกับปัญหาหรือเหตุการณ์ทั่วไปในชีวิตประจำวันพร้อมกันหลายเรื่อง โดยไม่มีสาเหตุจากการเจ็บป่วยอื่น ๆ หรือจากการใช้ยาหรือสารเสพติด และไม่พบว่าเกิดจากสาเหตุจำเพาะอันใดอันหนึ่ง อาการมักเป็นเรื้อรังนานเกิน 6 เดือน และส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน

โรคนี้พบได้ในคนทุกวัย มักมีอาการเกิดขึ้นครั้งแรกในช่วงวัยเด็กและวัยรุ่น

พบได้ประมาณร้อยละ 3-8 ของประชากรทั่วไปเมื่อติดตามในช่วง 1 ปี

พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 2 เท่า

* โรควิตกกังวล (anxiety disorders) หมายถึงภาวะวิตกกังวลหรือมีความรู้สึกกลัวอย่างรุนแรงกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดอาการทางกายและใจ กระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน โรคกลุ่มนี้ยังแบ่งออกเป็นชนิดย่อยได้หลายชนิด ดังนี้

1. โรคกังวลทั่วไป (generalized anxiety disorder/GAD) ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกกังวลมากเกินกว่าเหตุในหลาย ๆ เรื่องพร้อมกัน ร่วมกับอาการผิดปกติทางกายต่าง ๆ อย่างเรื้อรัง โดยไม่มีสาเหตุจากการเจ็บป่วยอื่น ๆ และการใช้ยาหรือสารเสพติด และไม่พบว่าเกิดจากสาเหตุจำเพาะอันใดอันหนึ่ง

2. โรคแพนิก (panic disorder) ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกกลัวอย่างรุนแรง โดยไม่มีเหตุกระตุ้นชัดเจน อาการจะเป็นเพียงช่วงสั้น ๆ แต่กำเริบได้บ่อย (ดู “โรคแพนิก” เพิ่มเติม)

3. โรคกลัว (phobias) ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกกลัวต่อสิ่งหรือสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างมากเกินกว่าเหตุ และไม่กล้าเผชิญกับสิ่งหรือสถานการณ์นั้น ๆ จนกระทบต่อการดำเนินชีวิต อาจมีลักษณะกลัวต่อสิ่งหรือสถานการณ์หนึ่ง ๆ อย่างจำเพาะ (specific phobia) เช่น กลัวสัตว์ต่าง ๆ (สุนัข งู คางคก แมลงสาบ) ที่สูง ที่แคบ ความมืด เชื้อโรค การโดยสารเครื่องบิน การเห็นเลือด การทำฟัน เป็นต้น หรือกลัวการเข้าสังคม (social phobia) เช่น งานเลี้ยงสังสรรค์ การพูดในที่ชุมชน เป็นต้น หรือกลัวการเข้าไปอยู่ในสถานที่ที่หลบออกได้ยากหรือรู้สึกลำบากใจเมื่อเกิดอาการแพนิก (agoraphobia) เช่น การอยู่ในฝูงชน ที่ชุมนุม หรือห้องประชุม เป็นต้น อาการมักเป็นอยู่นานอย่างน้อย 6 เดือน โรคนี้มักมีอาการเกิดขึ้นครั้งแรกในช่วงวัยรุ่น

การรักษา ให้ยาทางจิตประสาทร่วมกับการทำจิตบำบัด และพฤติกรรมบำบัด โดยเฉพาะการให้เผชิญกับสิ่งหรือสถานการณ์ที่ผู้ป่วยกลัว (exposure therapy)

4. โรคย้ำคิดย้ำทำ (obsessive-compulsive disorder) ผู้ป่วยจะมีอาการคิดหรือทำอะไรซ้ำ ๆ โดยไม่มีเหตุผล จนมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน เรื่องที่ย้ำคิดมักเป็นเรื่องไร้สาระ น่ากลัว หรือน่ารังเกียจ เช่น ความสกปรก ความรุนแรง การทำร้ายผู้อื่น อุบัติเหตุ เรื่องเพศ ลืมปิดประตู ลืมปิดไฟ เป็นต้น ส่วนอาการย้ำทำจะมีลักษณะทำอะไรซ้ำ ๆ เช่น ล้างมือ จัดสิ่งของให้เป็นระเบียบ นับสิ่งของ นับจังหวะก้าวที่เดิน ตรวจเช็กกลอนประตูหน้าต่าง สวิตช์ไฟหรือเตาแก๊ส เป็นต้น อาการมักเป็นอยู่อย่างน้อย 2 สัปดาห์ โรคนี้มักมีอาการเกิดขึ้นครั้งแรกในช่วงวัยรุ่นหรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น การรักษาเช่นเดียวกับโรคกลัว

5. โรควิตกกังวลหลังเผชิญเหตุการณ์ร้ายแรง เช่น สงคราม ภัยธรรมชาติ ถูกทำร้ายหรือข่มขืน อุบัติเหตุร้ายแรง เป็นต้น ผู้ป่วยจะมีอาการหวาดผวาอย่างรุนแรง มีความรู้สึกสิ้นหวัง คิดและฝันซ้ำ ๆ รวมทั้งลืมเหตุการณ์นั้น ๆ ผู้ป่วยมักมีอาการนอนไม่หลับ ตื่นเต้นตกใจง่าย อารมณ์แปรปรวน ขาดสมาธิ ความจำแย่ลง บางรายอาจมีประสาทหลอนร่วมด้วย ถ้ามีอาการเกิดขึ้นภายหลังเผชิญเหตุการณ์ภายใน 4 สัปดาห์ และมีอาการอยู่ไม่เกิน 1 เดือน แล้วทุเลาไปเอง เรียกว่า “Acute stress disorder” ซึ่งเป็นภาวะที่เป็นเพียงชั่วคราว แต่ถ้ามีอาการเรื้อรังนานเกิน 1 เดือน เรียกว่า “Post- traumatic stress disorder” ซึ่งอาจเกิดอาการภายหลังเหตุการณ์ 1 สัปดาห์ หรือหลายปีต่อมา อาการมักเรื้อรังหรือเป็น ๆ หาย ๆ เมื่อถูกกระตุ้นให้คิดถึงเหตุการณ์นั้น ๆ ผู้ป่วยมักจะมีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงการเห็นหรือคิดถึงเหตุการณ์นั้น ๆ การรักษาเช่นเดียวกับโรคกลัว

6. โรควิตกกังวลจากการพลัดพรากจากพ่อแม่หรือคนรัก มักพบกับเด็กอายุ 7-8 ปี ที่ต้องแยกจากพ่อแม่คนที่รักและผูกพันหรือคิดไปล่วงหน้าถึงเรื่องนี้ ทำให้เกิดภาวะวิตกกังวลอย่างรุนแรง ขัดขวางพัฒนาการของเด็กในการเรียนรู้ การเข้าสังคม หน้าที่การงาน ผู้ป่วยจะมีอาการกลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อพ่อแม่ (เช่น อุบัติเหตุ ถูกทำร้าย ถูกลักพาตัวไป) และไม่ยอมแยกจากพ่อแม่เวลาเข้านอนหรือไปโรงเรียน อาจมีอาการฝันร้ายเกี่ยวกับการพลัดพราก เมื่อต้องแยกจากพ่อแม่หรือคิดไปล่วงหน้าว่าจะต้องแยกจากกัน เด็กอาจมีอาการปวดศีรษะ ปวดท้อง เด็กทีเป็นโรคนี้อาจมีโรควิตกกังวลชนิดอื่น (เช่น โรคกลัว) ร่วมด้วย การรักษาเช่นเดียวกับโรคกลัว

7. โรควิตกกังวลจากโรคทางกาย เช่น ศีรษะได้รับบาดเจ็บ โรคติดเชื้อของสมอง เนื้องอกสมอง โรคของหูชั้นใน โรคหัวใจวาย หัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำหรือสูงเกิน ภาวะโลหิตจาง เป็นต้น

8. โรควิตกกังวลจากแอลกอฮอล์ สารเสพติด และยา (เช่น กาเฟอีน แอมเฟตามีน โคเคน เอฟีดรีน ทีโอฟิลลีน ยาลดน้ำหนักบางชนิด ยาแก้ซึมเศร้าบางชนิด) และจากการถอนยากล่อมประสาท

9. โรควิตกกังวลจากความเครียดหรือปัญหาชีวิต เช่น ปัญหาครอบครัว การหย่าร้าง ปัญหาการเงิน ภาวะหนี้สิน ปัญหาการทำงาน หรือความสัมพันธ์กับผู้อื่น ปัญหาสุขภาพหรือการเจ็บป่วย เป็นต้น อาจทำให้เกิดอาการวิตกกังวล ซึ่งจะทุเลาเมื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ การรักษา ควรค้นหาสาเหตุและแก้ไข อาจให้ยากล่อมประสาทควบคุมอาการ


สาเหตุ

ยังไม่ทราบแน่ชัด สันนิษฐานว่าอาจเกี่ยวกับปัจจัยด้านชีวภาพร่วมกับปัจจัยด้านจิตใจและสังคม

ปัจจัยทางชีวภาพ เชื่อว่าเกี่ยวกับความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ที่เรียกว่า สารส่งผ่านประสาท (neurotransmitters) หลายชนิด เช่น ซีโรโทนิน กรดแกมมาอะมิโนบูไทริก (gamma-aminobutyric acid/GABA) นอกจากนี้ยังเชื่อว่า อาจเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ซึ่งจะพบว่าเด็กที่มีพ่อแม่เป็นโรคนี้ มีโอกาสเป็นโรคนี้สูงกว่าเด็กทั่วไป

ปัจจัยด้านจิตใจและสังคม เช่น การเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีการคาดหวังในความสำเร็จของลูกสูง การมีพ่อแม่เป็นโรควิตกกังวล บุคลิกภาพของผู้ป่วยที่มองโลกในแง่ร้ายและประเมินความสามารถในการแก้ปัญหาของตนเองต่ำเกินจริง การเผชิญกับความเครียดหรือเหตุการณ์ร้ายแรง เป็นต้น

อาการ

ที่สำคัญ คือ ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกวิตกกังวลมากเกินกว่าเหตุอยู่เกือบตลอดเวลาแทบทุกวัน ติดต่อกันนานเกิน 6 เดือน โดยวิตกกังวลในปัญหาและเหตุการณ์ทั่ว ๆ ไปในชีวิตประจำวันพร้อมกันหลายเรื่องอย่างไร้เหตุผล และยากที่จะควบคุมไม่ให้กังวล เช่น กลัวสามีถูกทำร้าย ห่วงเรื่องการเรียนของลูก กลัวคนในบ้านจะได้รับอุบัติเหตุ กลัวว่าตนเองจะเจ็บป่วย กลัวว่าจะทำงานได้ไม่ดี เป็นต้น ผู้ป่วยจะไม่มีปัญหาร้ายแรงที่ทำให้คิดมากอันใดอันหนึ่งเป็นการเฉพาะ

ผู้ป่วยมักมีอาการนอนหลับยาก หรือนอนกระสับกระส่ายไม่เต็มที่ อาจรู้สึกอ่อนเพลียเหนื่อยล้าง่าย อยู่ไม่สุข ตื่นเต้น หงุดหงิดง่าย ขาดสมาธิ รู้สึกสมองว่างเปล่า คิดไม่ออก กล้ามเนื้อตึงเครียด (ทำให้ปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา เจ็บหน้าอก ปวดหลัง ปวดข้อ ปวดเมื่อยตามตัว) มีอาการมือเท้าสั่น หรือสั่นทั้งตัว บางคนอาจมีอาการใจสั่น หายใจไม่อิ่ม รู้สึกมีก้อนจุกคอ เหงื่อออกง่าย มือเย็น ท้องไส้ปั่นป่วน คลื่นไส้ ท้องเดิน ปากแห้ง เวียนศีรษะ ร่วมด้วย

อาการมักเป็น ๆ หาย ๆ และจะรุนแรงในช่วงที่มีความเครียด


ภาวะแทรกซ้อน

ภาวะวิตกกังวลเรื้อรัง อาจทำให้ความสามารถในการเรียน การทำงาน ความสัมพันธ์กับผู้อื่นลดลง

ผู้ป่วยอาจมีโรคทางจิตประสาทอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น โรคแพนิก โรคกลัว โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคซึมเศร้า ซึ่งเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย

ผู้ป่วยยังเสี่ยงต่อการติดแอลกอฮอล์ ติดยา หรือสารเสพติด

บางรายอาจมีโรคทางกายแทรกซ้อน เช่น ปวดศีรษะเรื้อรัง โรคลำไส้แปรปรวน เป็นต้น

นอกจากนี้ ความเครียดอาจมีผลต่อภูมิคุ้มกันและการเกิดโรคทางกายต่าง ๆ ได้


การวินิจฉัย

แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการเป็นหลัก

การตรวจร่างกายมักไม่พบสิ่งผิดปกติชัดเจน

บางรายอาจพบอาการมือเย็น เหงื่อออก กล้ามเนื้อตึงเครียด มือสั่น ชีพจรเต้นเร็ว

เกณฑ์การวินิจฉัยโรคกังวลทั่วไป

1. มีความรู้สึกวิตกกังวลมากเกินกว่าเหตุต่อหลาย ๆ เรื่อง (เช่น การเรียน การงาน ครอบครัว สุขภาพ เป็นต้น)
 

2. ผู้ป่วยรู้สึกยากที่จะควบคุมไม่ให้กังวล
 

3. มีอาการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ อย่างน้อย 3 ใน 6 ข้อ (สำหรับเด็กมีเพียง 1 ใน 6 ข้อ)

    กระสับกระส่ายอยู่ไม่สุข หรือรู้สึกตื่นเต้น
    รู้สึกเหนื่อยหรืออ่อนล้าง่าย
    ไม่มีสมาธิ หรือรู้สึกสมองว่างเปล่าคิดไม่ออก
    หงุดหงิด
    กล้ามเนื้อตึงเครียด (เช่น ปวดศีรษะ ปวดคอ เจ็บหน้าอก ปวดหลัง ปวดเมื่อยตามตัว)
    มีปัญหาการนอน (เช่น หลับยาก หรือนอนกระสับกระส่าย)

4. อาการทั้งหมดเป็นอยู่บ่อย ๆ นานกว่า 6 เดือน


การรักษาโดยแพทย์

แพทย์จะให้การรักษาด้วยยากล่อมประสาท โดยให้ต่อเนื่องนาน 6-12 เดือน จะช่วยลดอาการวิตกกังวลและอาการต่าง ๆ ได้ดี

ถ้ามีอาการใจสั่น มือสั่น แพทย์จะให้โพรพราโนลอล แต่ต้องระวังผลข้างเคียง คือ อาการซึมเศร้า ชีพจรเต้นช้า คลื่นไส้

ถ้ามีภาวะซึมเศร้าหรือโรคแพนิกร่วมด้วยก็ให้การรักษาแบบโรคซึมเศร้า หรือโรคแพนิก

ผลการรักษา มักจะได้ผลดี แต่ต้องกินยาต่อเนื่องอย่างน้อย 6-12 เดือน หรือนานกว่านั้น หลังหยุดยาประมาณร้อยละ 60-80 มีโอกาสกำเริบได้อีก


การดูแลตนเอง

หากสงสัย เช่น มีความรู้สึกวิตกกังวล  นอนหลับยาก  รู้สึกอ่อนเพลียเหนื่อยล้าง่าย อยู่ไม่สุข ตื่นเต้น หงุดหงิดง่าย หรือ ขาดสมาธิ ควรปรึกษาแพทย์

เมื่อตรวจพบว่าเป็นโรควิตกกังวล ควรดูแลรักษาและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์  และติดตามรักษากับแพทย์ตามนัด

ในรายที่แพทย์ให้ยากลับไปกินต่อที่บ้าน  ถ้ากินยาแล้วสงสัยเกิดผลข้างเคียงจากยา ( เช่น มีลมพิษ ผื่นคัน ตุ่มพุพอง ตาบวม ปากบวม คลื่นไส้ อาเจียน  หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ) ควรกลับไปพบแพทย์ก่อนนัด

การป้องกัน

สำหรับโรคกังวลทั่วไป ยังไม่มีวิธีป้องกันที่ได้ผล เนื่องจากโรคนี้ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด

หากมีอาการ ควรปรึกษาแพทย์และติดตามรักษากับแพทย์เพื่อควบคุมอาการ และอาจป้องกันไม่ให้มีอาการกำเริบมากด้วยการงดการบริโภคสุรา ยาสูบ สารกาเฟอีน (ชา กาแฟ)

ข้อแนะนำ

1. เมื่อพบผู้ป่วยมีภาวะวิตกกังวล แพทย์จะทำการซักถามประวัติและตรวจดูอาการอย่างละเอียด เพื่อแยกแยะสาเหตุ บางครั้งอาจเกิดจากโรคทางกาย แอลกอฮอล์ สารเสพติด ยา ความเครียดหรือปัญหาชีวิต หรืออาจมีโรคจิตประสาทอื่น ๆ (เช่น โรคซึมเศร้า โรคแพนิก โรคกลัว โรคย้ำคิดย้ำทำ) ร่วมด้วย ซึ่งมีวิธีการดูแลรักษาแตกต่างกันไป

2. โรคกังวลทั่วไป มักเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง ซึ่งแพทย์จะให้ยารักษาต่อเนื่องอย่างน้อย 6-12 เดือน และแนะนำผู้ป่วย ดังนี้

    ให้ความมั่นใจแก่ผู้ป่วยว่า โรคนี้ไม่มีอันตรายร้ายแรง สามารถควบคุมอาการด้วยยาที่ใช้รักษาจนสามารถดำเนินชีวิตเป็นปกติสุขได้ และควรให้กำลังใจว่าโรคนี้ไม่ได้เกิดจากความผิดของผู้ป่วย แต่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง
    พบแพทย์เป็นประจำตามนัด และกินยาอย่างต่อเนื่อง อย่าปรับยาหรือหยุดยาเอง
    ดูแลสุขภาพทั่วไปให้แข็งแรง ด้วยการกินอาหารที่มีประโยชน์ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายเป็นประจำ และผ่อนคลายความเครียดด้วยการทำสมาธิ ฝึกโยคะ
    หลีกเลี่ยงการเสพแอลกอฮอล์ สารเสพติด สารกระตุ้น กาเฟอีน ซึ่งอาจทำให้อาการแย่ลงได้
    เมื่อมีภาวะเครียด ควรหาทางพูดคุยระบายกับญาติหรือเพื่อนสนิท

8
Doctor At Home: ภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease/COPD)

ภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรัง หมายถึงภาวะที่มีการอุดกั้นของทางเดินหายใจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากโรคเรื้อรังของระบบทางเดินหายใจ ซึ่งมีอยู่หลายโรค ที่สำคัญได้แก่ โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังและถุงลมปอดโป่งพอง ทั้ง 2 โรคนี้มักจะพบร่วมกัน ทำให้มีการลดลงของอัตราการไหลเวียนของลมหายใจผ่านปอดขณะหายใจออก จึงมีอากาศคั่งค้างอยู่ในปอดมากกว่าปกติ ประกอบกับการแลกเปลี่ยนอากาศขึ้นได้น้อยกว่าปกติ (มีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำลง และระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูงขึ้น) เป็นเหตุให้ผู้ป่วยมีอาการหอบเหนื่อยง่าย

หลอดลมอักเสบเรื้อรัง หมายถึง การอักเสบของเยื่อบุผิวภายในหลอดลม ซึ่งเกิดขึ้นต่อเนื่องเรื้อรัง เป็นผลมาจากการถูกสารพิษในบุหรี่หรือสิ่งระคายเคือง ทำให้ขนอ่อน (cilia) พิการ ไม่สามารถโบกพัดเพื่อขจัดเชื้อโรคและสิ่งระคายเคืองออกไป เมื่อเยื่อบุหลอดลมเกิดการอักเสบเรื้อรัง ก็จะทำให้เซลล์เยื่อบุหลอดลมมีการเพิ่มจำนวนและหนาตัวขึ้น รวมทั้งต่อมเมือก (mucous glands) บวมโตและหลั่งเมือก (เสมหะ) ออกมากกว่าปกติ จนทำให้ช่องทางเดินหายใจแคบลง เกิดภาวะอุดกั้นขึ้น แพทย์จะวินิจฉัยว่าเป็นหลอดลมอักเสบเรื้อรัง เมื่อพบว่าผู้ป่วยมีอาการไอมีเสมหะมากติดต่อกันทุกวันปีละมากกว่า 3 เดือนขึ้นไป ติดต่อกันอย่างน้อย 2 ปี

ถุงลมปอดโป่งพอง (ถุงลมพอง ก็เรียก) หมายถึง ภาวะพิการอย่างถาวรของถุงลมในปอด ปกติถุงลมอยู่ปลายสุดของปอด ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนล้าน ๆ ถุง เป็นถุงอากาศเล็ก ๆ มีหลอดเลือดหุ้มอยู่โดยรอบ เป็นที่ซึ่งเกิดการแลกเปลี่ยนอากาศ กล่าวคือ ก๊าชออกซิเจนในถุงลมซึมผ่านผนังถุงลมและหลอดเลือดเข้าไปในกระแสเลือดและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระแสเลือด ซึมกลับออกมาในถุงลม ถุงลมที่ปกติจะมีผนังที่ยืดหยุ่น ทำให้ถุงลมหดและขยายตัวได้คล้ายฟองน้ำ ซึ่งช่วยให้การแลกเปลี่ยนอากาศเป็นไปอย่างเต็มที่ ส่วนผู้ป่วยที่เป็นโรคถุงลมปอดโป่งพอง จะมีผนังถุงลมที่เสียความยืดหยุ่นและเปราะง่าย ทำให้ถุงลมสูญเสียหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนอากาศ นอกจากนี้ผนังของถุงลมที่เปราะยังมีการแตกทะลุ ทำให้ถุงลมขนาดเล็ก ๆ หลาย ๆ อันรวมตัวเป็นถุงลมที่โป่งพองและพิการ ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ จำนวนพื้นผิวของถุงลมที่ยังทำหน้าที่ได้ทั้งหมดลดน้อยลงกว่าปกติ ทำให้ออกซิเจนเข้าสู่กระแสเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้น้อยลง เกิดอาการเหนื่อยหอบง่าย

ทั้ง 2 โรคนี้มักจะเกิดร่วมกัน จนบางครั้งแยกกันไม่ออก พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง หลอดลมอักเสบเรื้อรังจะพบมากในช่วงอายุ 30-60 ปี ส่วนถุงลมปอดโป่งพองพบมากในช่วงอายุ 45-65 ปี ส่วนใหญ่จะมีประวัติสูบบุหรี่จัด (มากกว่าวันละ 20 มวน) มานานเป็น 10-20 ปีขึ้นไป หรือไม่ก็มีประวัติอยู่ในที่ที่มีอากาศเสีย สูดควันเป็นประจำ หรือมีอาชีพทำงานในโรงงาน หรือเหมืองแร่ที่หายใจเอาสารระคายเคืองเข้าไปเป็นประจำ

ภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรัง,หลอดลมอักเสบเรื้อรัง

สาเหตุ

ส่วนใหญ่เกิดจากสารพิษในบุหรี่ที่สูบเข้าไปทำลายเยื่อบุหลอดลมและถุงลมในปอด ซึ่งค่อย ๆ เกิดขึ้น และลุกลามรุนแรงขึ้นอย่างช้า ๆ และในที่สุดเกิดความพิการอย่างถาวรดังกล่าวข้างต้น (พบว่าประมาณร้อยละ 15-20 ของผู้ที่สูบบุหรี่จัดจะเกิดภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรัง)

ส่วนน้อยอาจเกิดจากมลพิษในอากาศ (เช่น ฝุ่น สารเคมี) จากการประกอบอาชีพอย่างต่อเนื่อง และอาจเสี่ยงมากขึ้น เมื่อมีการสูบบุหรี่ร่วมด้วย   

ในบางพื้นที่ (เช่น เขตเขาทางภาคเหนือ) พบว่าเกิดจากการใช้ฟืนหุงต้มหรือก่อไฟภายในบ้านที่ขาดการถ่ายเทอากาศ เป็นเหตุให้ผู้ป่วยสูดควันอยู่ประจำจนเป็นพิษต่อทางเดินหายใจ

ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหืด มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรังมากกว่าคนปกติ และการสูบบุหรี่ยิ่งทำให้เสี่ยงมากขึ้น

นอกจากนี้ ยังพบว่าอาจเกิดจากภาวะพร่องสารต้านทริปซิน (alpha1-antitrypsin ซึ่งเป็นโปรตีนป้องกันไม่ให้ถุงลมปอดถูกสารพิษทำลาย) ภาวะนี้พบได้น้อย สามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ และมักเกิดอาการในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอายุต่ำกว่า 40-50 ปี


อาการ

ระยะที่เริ่มเป็นหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (อาจเริ่มในช่วงอายุ 30-40 ปี) จะมีอาการไอมีเสมหะเรื้อรังทุกวันเป็นแรมเดือนแรมปี ผู้ป่วยมักจะไอหรือขากเสมหะในคอหลังจากตื่นนอนตอนเช้าเป็นประจำ จนนึกว่าเป็นเรื่องปกติ และไม่ได้ใส่ใจดูแลรักษา ต่อมาจะไอถี่ขึ้นตลอดทั้งวัน และมีเสมหะจำนวนมาก ในช่วงแรกมีลักษณะเป็นสีขาว ต่อมาอาจเป็นสีเหลืองหรือเขียว มีไข้ขึ้นหรือหอบเหนื่อยเป็นครั้งคราวจากโรคติดเชื้อแทรกซ้อน

ถ้าไม่หยุดสูบบุหรี่ จนมีโรคถุงลมปอดโป่งพองตามมา (อาจใช้เวลามากกว่า 10 ปี จากระยะเริ่มเป็นหลอดลมอักเสบเรื้อรัง) นอกจากอาการไอเรื้อรังแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยง่ายเฉพาะเวลาออกแรงมาก หรือเมื่อมีโรคติดเชื้อแทรก (เช่น มีไข้ ไอมีเสมหะเหลืองหรือเขียว) อาการหอบเหนื่อยจะค่อย ๆ เป็นมากขึ้น แม้แต่เวลาพูดหรือเดินหรือทำกิจกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็จะรู้สึกเหนื่อยง่าย จนในที่สุด (อาจใช้เวลา 5-10 ปีขึ้นไป) แม้แต่อยู่เฉย ๆ ก็รู้สึกหอบเหนื่อย ทั้งนี้เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถหายใจแลกเปลี่ยนอากาศ (ออกซิเจน) ได้เพียงพอต่อการนำไปเลี้ยงร่างกายให้เกิดพลังงาน

ในระยะหลัง ผู้ป่วยมักมีอาการกำเริบหนักเป็นครั้งคราวเมื่อมีการติดเชื้อแทรกซ้อน ทำให้มีไข้และไอมีเสมหะสีเหลืองหรือเขียว หายใจหอบ ตัวเขียว จนต้องเขารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล

บางครั้งอาจมีภาวะหัวใจวายแทรกซ้อน

เมื่อเป็นถึงขั้นระยะรุนแรง ผู้ป่วยมักมีอาการเบื่ออาหารและน้ำหนักลด รูปร่างผ่ายยอม และมีอาการเหนื่อยหอบอยู่ตลอดเวลา มีอาการทุกข์ทรมาน และรู้สึกท้อแท้


ภาวะแทรกซ้อน

มักมีการติดเชื้อแทรกซ้อนเป็นครั้งคราว เช่น หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ ซึ่งจะทำให้มีอาการหอบกำเริบรุนแรง ระยะแรก ๆ ประมาณปีละ 1-2 ครั้ง แต่เมื่อโรคถุงลมปอดโป่งพองเป็นรุนแรงมากขึ้น ก็มีโอกาสติดเชื้อได้ถี่ขึ้นจนผู้ป่วยอาจต้องเข้า ๆ ออก ๆ โรงพยาบาลบ่อย

ระยะรุนแรง ผู้ป่วยมักมีภาวะการหายใจล้มเหลวเรื้อรัง (chronic respiratory failure) ร่วมด้วย และอาจมีภาวะหัวใจวายแทรกซ้อน มีอาการหอบเหนื่อย นอนราบไม่ได้ หลอดเลือดที่คอโป่ง เท้าบวม ตับโต หัวใจห้องขวาล่างโต เรียกว่า โรคหัวใจเหตุจากปอด (cor pulmonale)

ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น ปอดทะลุ จากการที่ถุงลมส่วนนอก (ใกล้เยื่อหุ้มปอด) แตก ไอออกเป็นเลือดจากการอักเสบของหลอดลม ภาวะเม็ดเลือดแดงมาก (polycythemia ซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อภาวะหลอดเลือดมีลิ่มเลือด หรือ phrombosis) ไส้เลื่อน กำเริบเนื่องจากอาการไอเรื้อรัง เป็นต้น


การวินิจฉัย

แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการ ประวัติการเจ็บป่วย และการตรวจร่างกายเป็นหลัก

ในระยะแรก อาจตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติชัดเจน

ระยะต่อมาใช้เครื่องฟังตรวจปอดมักได้ยินเสียงอึ๊ด (rhonchi) เสียงกรอบแกรบ (crepitation) เสียงวี้ด (wheezing) และ/หรือเสียงหายใจออกยาว (prolonged expiration) ในรายที่มีการติดเชื้อแทรกซ้อนมักมีไข้ร่วมด้วย

ในระยะที่เป็นมากขึ้น อาจพบอาการหายใจเร็ว หน้าอกมีอาการเคาะโปร่ง (hyperresonant) และเมื่อใช้เครื่องฟังตรวจปอด จะพบเสียงหายใจค่อย (ฟังไม่ค่อยได้ยิน) เนื่องจากมีอากาศค้างอยู่ในถุงลม และลมหายใจเข้าออกได้น้อย ถ้ามีอากาศค้างอยู่ในถุงลมมาก ก็จะพบหน้าอกมีลักษณะเป็นรูปถังทรงกระบอก เรียกว่า อกถัง หรือ อกโอ่ง (barrel chest)

ในรายที่จำเป็นต้องวินิจฉัยโรคนี้ให้แน่ชัด แพทย์จะทำการตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น เอกซเรย์ปอด ตรวจเสมหะ ทำการวัดปริมาตรอากาศหายใจ (spirometry) เพื่อประเมินสมรรถภาพของปอด* ในรายที่เป็นระยะรุนแรงอาจทำการตรวจเลือดประเมินภาวะเม็ดเลือดแดงมาก (polycythemia) ซึ่งอาจพบในผู้ป่วยบางราย ตรวจระดับออกซิเจนในเลือด (ซึ่งจะต่ำกว่าปกติตั้งแต่ระยะแรก ๆ) และคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด (ซึ่งจะสูงกว่าปกติในระยะต่อมา) ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นต้น ในรายที่อายุต่ำกว่า 40 ปีอาจตรวจหาระดับสารต้านทริปซินในเลือด

* ดูค่า FEV1 (forced expiratory volume in one second) ซึ่งหมายถึง ปริมาตรอากาศที่หายใจออกใน 1 วินาที และค่า FVC (forced vital capacity) ซึ่งหมายถึง ปริมาตรอากาศที่หายใจออกจนสุดอย่างเต็มที่หนึ่งครั้ง

แพทย์จะประเมินจากค่า FEV1 และ FEV1/FVC (ค่า FEV1 หารด้วยค่า FVC) ซึ่งทั้ง 2 ค่านี้ถ้ายิ่งมีค่าต่ำ ก็ยิ่งบ่งชี้ว่ายิ่งมีความรุนแรง เช่น ในรายที่มีภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรัง มักมีค่า FEV1/ FVC < 70% และมีค่า FEV1 ≥ 80% ของค่ามาตรฐาน (ในรายที่เป็นเล็กน้อย) ระหว่าง 30-80% (ในรายที่เป็นปานกลาง) และ < 30% (ในรายที่เป็นรุนแรง)


การรักษาโดยแพทย์

นอกจากแนะนำการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยแล้ว แพทย์จะให้การดูแลรักษา ดังนี้

1. ให้ยาบรรเทาตามอาการ เช่น ถ้ามีเสียงวี้ด (wheezing) ให้ยาขยายหลอดลม กลุ่มยากระตุ้นบีตา 2 หรือไอพราโทรเพียมโบรไมด์ชนิดสูด อย่างใดอย่างหนึ่งหรือใช้ร่วมกัน ถ้ามีอาการหอบตอนดึก อาจให้ยาขยายหลอดลมชนิดออกฤทธิ์ยาว ในรายที่เป็นรุนแรงมักจะให้สเตียรอยด์ชนิดสูดร่วมกับยาข้างต้น

2. ถ้ามีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน เช่น มีไข้หรือมีเสมหะข้นเหลืองหรือเขียว ก็จะให้ยาปฏิชีวนะ (เช่น อะม็อกซีซิลลิน, โคอะม็อกซิคลาฟ, อีริโทรไมซิน, ร็อกซิโทรไมซิน, ดอกซีไซคลีน, โคไตรม็อกซาโซล เป็นต้น) นาน 7-10 วัน

3. ในรายที่มีอาการหายใจหอบรุนแรง หรือสงสัยเป็นปอดอักเสบ ปอดทะลุ หรือภาวะหัวใจวาย แพทย์จะรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล ให้การรักษาตามสาเหตุที่ตรวจพบ อาจต้องให้ออกซิเจน ใส่ท่อหายใจ และใช้เครื่องช่วยหายใจ

ผลการรักษา ขึ้นกับระยะและความรุนแรงของโรค ถ้าเป็นระยะแรก (FEV1 > 50% ของค่ามาตรฐาน) และผู้ป่วยสามารถเลิกบุหรี่ได้เด็ดขาด ก็มักจะได้ผลดี โรคจะไม่ลุกลามรุนแรงมากขึ้น แต่ถ้าปล่อยให้ลุกลามจนถึงระยะรุนแรง (สมรรถภาพของปอดลดลงอย่างมากแล้ว คือ FEV1 < 30% ของค่ามาตรฐาน) ก็มักจะเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อน (เช่น ภาวะการหายใจล้มเหลว ปอดอักเสบ ปอดทะลุ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะสิ่งหลุดอุดตันหลอดเลือดแดงปอด เป็นต้น) ภายใน 1–5 ปี โดยเฉลี่ยผู้ป่วยทุกระดับของความรุนแรงมีอัตราตายมากกว่าร้อยละ 50 ใน 10 ปีหลังจากที่ได้รับการวินิจฉัยครั้งแรก


การดูแลตนเอง

หากมีอาการไอและเหนื่อยง่ายอย่างเรื้อรัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่สูบบุหรี่ หรืออยู่ในบรรยากาศที่มีฝุ่นควันนานๆ  ควรปรึกษาแพทย์

หากตรวจพบว่าเป็นหลอดลมอักเสบเรื้อรัง หรือถุงลมปอดโป่งพอง ควรดูแลตนเอง ดังนี้

1. ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ที่สำคัญคือ เลิกสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด และหลีกเลี่ยงมลพิษในอากาศ ดื่มน้ำมาก ๆ (วันละ 8-12 แก้ว) เพื่อช่วยขับเสมหะ

2. ใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำ โดยเรียนรู้วิธีใช้ยาที่ถูกต้อง และติดตามการรักษาตามที่แพทย์นัดอย่างต่อเนื่อง

3. ควรกลับไปพบแพทย์ก่อนนัด ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้

    มีไข้สูง หรือมีอาการหนาวสั่นร่วมด้วย 
    เจ็บหน้าอกมาก หายใจหอบหรือหายใจลำบาก   
    ไอมีเสมหะข้นเหลืองหรือเขียว หรือไอเป็นเลือด
    เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
    มีอาการหอบเหนื่อยมากขึ้น นอนราบไม่ได้ (เพราะรู้สึกหายใจลำบาก) หรือเท้าบวม
    ใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำ 2-3 วันแล้วไม่ดีขึ้น 
    หลังกินยา มีลมพิษ ผื่นคัน ตุ่มพุพอง ตาบวม ปากบวม คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ
    มีความวิตกกังวล


การป้องกัน

1. ที่สำคัญคือ การไม่สูบบุหรี่

2. หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีมลพิษในอากาศ

3. หลีกเลี่ยงการใช้ฟืนก่อไฟภายในบ้านที่ขาดการถ่ายเทอากาศ

4. ถ้าเป็นโรคหลอดลมอักเสบและโรคหืด ควรได้รับการรักษาอย่างจริงจัง


ข้อแนะนำ

1. ผู้ที่สูบบุหรี่จัด ควรหมั่นพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเริ่มมีอาการไอบ่อยทุกวันโดยไม่มีสาเหตุอื่นชัดเจน

2. ผู้ที่เริ่มเป็นหลอดลมอักเสบเรื้อรังหรือภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรังในระยะแรกเริ่ม ควรเลิกสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด จะช่วยให้อาการไม่ลุกลามมากขึ้น ผู้ป่วยควรติดตามการรักษากับแพทย์อย่างต่อเนื่อง เพื่อหาทางช่วยให้เลิกบุหรี่ ให้ยาบรรเทาตามอาการ ประเมินสมรรถภาพของปอดและภาวะแทรกซ้อนเป็นระยะ ๆ

3. ผู้ป่วยและญาติควรศึกษาให้เข้าใจถึงธรรมชาติของโรคและแนวทางการดูแลรักษา ญาติควรเข้ามามีบทบาทในการให้กำลังใจผู้ป่วย ในการเลิกบุหรี่และการติดตามรักษากับแพทย์อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งดูแลเรื่องโภชนาการ (ผู้ป่วยระยะรุนแรงมักมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ซึ่งจะทำให้ซ้ำเติมอาการหอบเหนื่อยมากขึ้น) การให้ออกซิเจนที่บ้าน (สำหรับผู้ป่วยระยะรุนแรง) การใช้ยารักษาให้ครบถ้วนตามที่แพทย์กำหนด การพาผู้ป่วยไปโรงพยาบาลทันทีที่สงสัยว่ามีภาวะแทรกซ้อน และการเตรียมพร้อมในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (end of life) ให้มีคุณภาพ ลดความทุกข์ทรมานของผู้ป่วย และไม่ให้สิ้นเปลืองเกินเหตุ

4. โรคถุงลมปอดโป่งพอง อาจมีอาการหายใจหอบและได้ยินเสียงวี้ดคล้ายโรคหืด แต่ต่างกันตรงที่ถุงลมปอดโป่งพองจะเริ่มมีอาการในคนอายุ 50-60 ปีขึ้นไปที่มีประวัติสูบบุหรี่จัดหรือถูกมลพิษทางอากาศมาเป็นเวลานาน และมีอาการหอบเหนื่อยรุนแรงขึ้นทีละน้อยอย่างช้า ๆ (ใช้เวลานาน 5-10 ปีขึ้นไป) ส่วนโรคหืดมักจะเริ่มเป็นตั้งแต่วัยเด็ก มักมีประวัติโรคหืดหรือโรคภูมิแพ้ในครอบครัว และมีอาการหอบกำเริบเป็นครั้งคราว บางครั้งก็อาจแยกกันไม่ได้ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าพบในคนอายุมาก อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 โรคนี้มีแนวทางการดูแลรักษาคล้ายกัน และควรได้รับการวินิจฉัยและรักษาจากแพทย์เป็นหลัก

9
ขายรถราคาพิเศษ Mitsubishi Pajero Sport GT-Plus ทำโปรฟรีดาวน์ได้

มิตซูบิชิ Mitsubishi Pajero Sport GT-PLUS ปี 2020
Mitsubishi Pajero Sport GT-PLUS รถยนต์อเนกประสงค์ รุ่นปรับปรุง เพิ่มเปิด-ปิดประตูท้ายด้วยไฟฟ้า พร้อมระบบแฮนด์ฟรีและปุ่มปิดฝาท้ายพร้อมล็อกรถ และจอภาพขนาด 12.1 นิ้ว มาพร้อมกับรีโมทและหูฟังอินฟาเรด ระบบ Brake Auto Hold เบรกอัตโนมัติเมื่อจอดอยู่กับที่ (BAH) ระบบเบรกมือควบคุมด้วยไฟฟ้าอัตโนมัติ (APB) กล้องมองภาพรอบคัน (MAM)

Mitsubishi Pajero Sport GT-PLUS เครื่องยนต์ดีเซล MIVEC VG Turbo 2.4 ลิตร เกียร์อัตโนมัติ 8 สปีด 181 แรงม้าที่ 3,500 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 430 นิวตันเมตรที่ 2,500 รอบ/นาที /ขับเคลื่อนล้อหลัง

รถผู้บริหาร รถทดลองขับ ไมล์น้อย ราคาและโปรโมชั่นพิเศษ

โปรโมชั่นพิเศษ
ตั้งแต่ 15 ก.ย. - 30 ธ.ค. 2567
ส่วนลด 210,000 สามารถนำมาเป็นเงินดาวน์เพื่อทำโปรฟรีดาวน์ได้

ราคาพิเศษ 1,189,000 บาท

สนใจสอบถามรายละเอียดกดลิ้ง https://www.checkraka.com/flashdeal/car

รายละเอียดเบื้องต้น
   แบรนด์              Mitsubishi
   รุ่น                   มิตซูบิชิ Mitsubishi Pajero Sport GT-PLUS ปี 2020
   ประเภทรถ         รถอเนกประสงค์ SUV
   ปีที่เปิดตัว          2020


10
มอเตอร์เอ็กซ์โปร์: ฮุนได Hyundai Stargazer X6 ปี 2024
949,000 บาท

ฮุนได Hyundai Stargazer X6 ปี 2024
Hyundai Stargazer X7  รุ่นย่อยใหม่ล่าสุดของฮุนได ไม่เพียงแต่มีภาพลักษณ์ที่ดุดันขึ้นจากรุ่นเดิม แต่ยังมาพร้อมกับอุปกรณ์พิเศษเฉพาะรุ่นหลายรายการ ขับเคลื่อนด้วย เครื่องยนต์เบนซิน เอ็มพีไอ สมาร์ทสตรีม ขนาด 1.5 ลิตร ซึ่งมีชื่อเสียงในเรื่องของความประหยัดและการตอบสนองอย่างใจสั่ง มาพร้อมกับพละกำลังที่สูงสุดในรถยนต์ระดับเดียวกัน 115 แรงม้า ที่ 6,300 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 115 นิวตันเมตร ที่ 4,500 รอบ/นาที จับคู่กับระบบส่งกำลังอัจฉริยะ IVT (Intelligent Transmission Variable) ทั้งยังรองรับการปรับแต่งรูปแบบการขับขี่ให้ตรงกับความต้องการของคุณ ซึ่งมีให้เลือก 4 รูปแบบ ประกอบด้วย NORMAL, ECO, SPORT และ SMART

รายละเอียดเบื้องต้น
   แบรนด์                  Hyundai
   รุ่น                        ฮุนได Hyundai Stargazer X6 ปี 2024
   ประเภทรถ              รถอเนกประสงค์ MPV
   ปีที่เปิดตัว               2024
   ราคา                    949,000 บาท

ดีไซน์
   ภายนอก
อุปกรณ์ชุดแต่ง (กระจังหน้า, กันชนหน้า-หลัง, ซุ้มล้อ ล้วนดีไซน์ใหม่)
กระจกมองข้างพร้อมไฟเลี้ยว
ไฟตัดหมอก (หน้า)
ระบบควบคุมระยะการจอด (เซ็นเซอร์กะระยะหน้า - หลัง)
ไฟท้าย LED
ขนาดยางหน้า-หลัง (205/55 R16)
ไฟ Daytime Running Lights
ราวหลังคา
ไฟหน้า LED
ล้ออัลลอย (17 นิ้ว)

   ภายใน
ตกแต่งภายใน (ไฟเรืองแสงในห้องโดยสาร Ambient Mood Lighting)
ปลั๊กไฟ 12 โวลท์ (1 ช่อง)
ภายในโทนสีดำ
อุปกรณ์ภายในอื่นๆ (โต๊ะพับหลังเบาะ)
ระบบปรับรูปแบบการขับขี่ (4 รูปแบบ ประกอบด้วย NORMAL, ECO, SPORT และ SMART)

สเปค
   เครื่องยนต์               Smartstream G1.5 แบบ 4 สูบแถวเรียง 115 แรงม้า ที่ 6,300 รอบต่อนาที แรงบิด 144 นิวตันเมตร ที่ 4,600 รอบต่อนาที เกียร์ IVT
   ขนาดเครื่องยนต์ (CC)        1,497 CC
   กำลังเครื่องยนต์ (แรงม้า)     115 แรงม้า
   ระบบเกียร์                       เกียร์อัตโนมัติ
   รูปแบบเกียร์                     แบบ IVT
   ระบบเบรค ABS                มี
   ประเภทน้ำมันเชื้อเพลิง         เบนซิน 95, เบนซิน 91, แก๊สโซฮอล์ 95 (E10), แก๊สโซฮอล์ 91
   ความจุถังน้ำมัน (ลิตร)         N/A
   ระบบจ่ายน้ำมัน                  Direct Injection
   น้ำหนักตัวรถ                     -
   ประเภทยางรถยนต์              -
   ขนาดล้อ (นิ้ว)                 ล้ออัลลอย (17 นิ้ว)
  ระบบขับเคลื่อน                 ขับเคลื่อนล้อหน้า

ระบบความปลอดภัยระบบความปลอดภัย

อุปกรณ์ความปลอดภัย 
ระบบควบคุมการทรงตัวอัตโนมัติ (Electronic Stability Control (ESC))
ดิสก์เบรก 4 ล้อ
กุญแจรีโมท (พร้อมระบบสตาร์ทเครื่องยนต์ผ่านรีโมท)
ระบบกระจายแรงเบรก EBD
อุปกรณ์เสริมความปลอดภัยอื่นๆ (ระบบเตือนการเปิดประตูเมื่อมีรถวิ่งมาด้านข้าง SEW,ระบบเตือนและเบรกอัตโนมัติขณะถอยรถ RCCA, ระบบช่วยควบคุมรถให้อยู่ในเลน LKA, ระบบช่วยควบคุมรถให้อยู่กลางเลน LFA)
เข็มขัดนิรภัย
ระบบช่วยการออกตัวขณะจอดบนทางลาดชัน (Hill-Start Assist Control (HAC ))
อื่นๆ (แพคเกจระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ขั้นสูง ADAS, ระบบเตือนและช่วยคุมพวงมาลัยเมื่อมีรถในจุดอับสายตา BCA , ระบบเตือนและช่วยคุมพวงมาลัยเมื่อมีรถในจุดอับสายตา BCA)
ระบบสัญญาณไฟฉุกเฉินอัตโนมัติเมื่อเบรกกะทันหัน (ระบบเตือนและเบรกฉุกเฉินอัตโนมัติ FCA)
กล้อง (มองภาพด้านหลัง)
ระบบช่วยเตือนอาการเหนื่อยล้าขณะขับขี่ (ATTENTION ASSIST) (DAW (Driver Attention Warning))
เบรกมือไฟฟ้า (พร้อมระบบ Auto Hold)
จุดยึดเบาะนั่งสำหรับเด็ก

11
มอเตอร์โชว์ 2025: NETA ส่งแคมเปญ Golden Miles แจกหนัก ให้นักสะสมเลขไมล์ ร่วมลุ้นเป็นเจ้าของ NETA X หรือทองคำ รวมกว่า 2 ล้านบาท

บริษัท เนต้า ออโต้ (ไทยแลนด์) จำกัด เดินหน้าเปิดตัวแคมเปญส่งท้ายปี รับเทศกาลแห่งความสุข โกลเด้น ไมล์ (Golden Miles) NETA แจกหนัก ให้นักสะสมเลขไมล์ ชวนบอกลาค่าน้ำมัน ยิ่งเลขไมล์เยอะยิ่งเพิ่มโอกาส รับรางวัลใหญ่ ถึง 10 รางวัล สำหรับเจ้าของรถที่เลขไมล์สะสมสูงสุด 10 อันดับแรก ลำดับที่ 1 ถึง 9 ได้รับสร้อยคอทองคำ 2 สลึง ลำดับที่ 10 ได้ NETA X รุ่น 401 Comfort และยังมีรางวัลพิเศษอื่น ๆ อีกมายมายเมื่อทดลองขับ หรือจองรถ รวมมูลค่ากว่า 2,000,000 บาท สามารถร่วมแคมเปญ โกลเด้น ไมล์ ได้ที่ https://campaign.neta.co.th/goldenmile/register ตั้งแต่ 18 พฤศจิกายน 2567 ถึง 16 ธันวาคม 2567 ประกาศผู้โชคดี 25 ธันวาคม 2567
 
มร. ชู กังจื้อ (Mr. Shu GangZhi) ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เนต้า ออโต้ (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวว่า “ในช่วงเทศกาลแห่งความสุขส่งท้ายปี และช่วยกระตุ้นกำลังซื้อในไตรมาสสุดท้ายของปี 2567 NETA Auto ขอขอบคุณในความเชื่อมั่น และไว้วางใจของลูกค้าชาวไทยที่มีต่อ   แบรนด์ NETA เราอยากชวนลูกค้าที่ปัจจุบันใช้รถน้ำมัน เปลี่ยนจากใช้รถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายใน มาร่วมทดลองรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 100% ของ NETA ด้วยแคมเปญ ‘โกลเด้น ไมล์ (Golden Miles) NETA แจกหนัก ให้นักสะสมเลขไมล์’ เพียงทดลองขับ หรือ จองรถ NETA V-II หรือ NETA X ทุกรุ่น รับบัตรของขวัญโลตัส และร่วมกิจกรรม เพื่อเป็นรถที่เลขไมล์สะสมสูงสุด 10 อันดับแรก     เพิ่มโอกาสคว้ารางวัลรถ NETA X รุ่น 401 Comfort หรือ สร้อยคอทองคำ รวมมูลค่ากว่า 2,000,000 บาท”


รายละเอียดแคมเปญ:

1. ลงทะเบียน และทดลองขับ NETA X หรือ NETA V-II ตั้งแต่วันที่ 18 พฤศจิกายน 2567 – 16 ธันวาคม 2567
รับบัตรของขวัญโลตัส มูลค่า 100 บาท (จำนวน 6,000 รางวัล) จำนวนจำกัด หรือจนกว่าของจะหมด

2. จองรถ NETA X หรือ NETA V-II ตั้งแต่วันที่ 18 พฤศจิกายน 2567 – 16 ธันวาคม 2567 และออกรถ NETA V-II หรือ NETA X
รุ่น 401 Comfort ภายใน 31 ธันวาคม 2567 หรือ รับรถยนต์ NETA X รุ่น 480 Smart ภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568
รับบัตรของขวัญโลตัส มูลค่า 500 บาท (จำนวน 1,200 รางวัล) จำนวนจำกัด หรือจนกว่าของจะหมด

3. ลงทะเบียนร่วมแคมเปญ เพิ่มโอกาสเป็น 1 ใน 10 เจ้าของรถที่เลขไมล์สูงที่สุด คว้ารางวัลใหญ่ 10 รางวัล*
รับสร้อยคอทองคำ รางวัลละ 2 สลึง มูลค่ารางวัลละ 23,740 บาท (ราคา ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2567) จำนวน 9 รางวัล สำหรับเจ้าของรถที่มีเลขไมล์สูงที่สุด ลำดับที่ 1 – 9

รับรถ NETA X รุ่น 401 Comfort มูลค่า 739,000 บาท จำนวน 1 รางวัล สำหรับเจ้าของรถที่มีเลขไมล์สูงที่สุด ลำดับที่ 10
*ต้องเป็นเจ้าของรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ยกเว้นระบบ BEV ขนาดไม่เกิน 7 ที่นั่ง (รย.1) ในนามบุคคลธรรมดาที่มีเลขไมล์สะสมตั้งแต่ 50,000 กม.ขึ้นไป
ประกาศผลของรางวัลสำหรับผู้โชคดี ทาง Facebook Official ของ NETA Auto Thailand วันที่ 25 ธันวาคม 2567
เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด สามารถตรวจสอบเงื่อนไขได้

12
ศูนย์ข้อมูลโควิด-19: เมื่อไหร่ต้องไปตรวจโควิด19

ในสถานการณ์ที่เชื้อโควิด19 กำลังระบาดหนัก หลายคนอาจจะมีคำถามว่า “เราติดหรือยัง” แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถตรวจหาเชื้อโควิด19 ได้ เพราะผู้ที่สามารถตรวจหาเชื้อโควิด19 ได้จะต้องเป็นผู้ที่เข้าเกณฑ์ดังนี้

    มีไข้ตั้งแต่ 37.5 องศาขึ้นไป
    หรือมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น

    ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หอบเหนื่อย หายใจลำบาก จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส

นอกจากนี้อาการโควิด19 ระลอกใหม่ที่ระบาดในช่วงเดือน เม.ย.64 นี้ พบผู้ป่วยมีอาการทางผิวหนังเพิ่มเติม ได้แก่

    มีผื่นขึ้นที่เท้า หรือนิ้วเท้า โดยมีลักษณะเฉพาะเป็นตุ่มหรือผื่นแดง ลักษณะคล้ายตาข่าย หรือเส้นใยเล็ก ๆ ขึ้นที่เท้า หรือบริเวณผิวหนังส่วนอื่น ๆ มักพบในผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรือมีอาการไม่มาก
    ข้อสังเกต ผื่นโควิด19

** มีผื่นแดง ลักษณะคล้ายตาข่าย
** มีจุดเลือดออก
** มีผื่นบวมแดงคล้ายโรคลมพิษ
** บางรายอาจมีลักษณะตุ่มน้ำคล้ายโรคสุกใส
** ซึ่งจะเกิดอาการฉับพลัน ร่วมกับอาการมีไข้ ไอ จาม และระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ

    บางรายอาจมีอาการเกี่ยวกับตา เช่น เยื่อบุตาอักเสบหรือบวม ,ตาแดง,น้ำตาไหล,ระตายเคืองตา,คันตา,มีขี้ตา,ตาสู้แสงไม่ได้
    ผู้ที่เดินทางมาจากเขตติดโรค หรือพื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง
    ประกอบอาชีพที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่เดินทางมาจากเขตติดโรค หรือพื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง
    เป็นผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่สงสัย หรือผู้ป่วยยืนยันว่าเป็นโควิด19
    เป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสกับผู้ป่วยยืนยัน

ประชาชนทั่วไปเมื่อไหร่ ต้องไปตรวจโควิด19 แบบเข้าใจง่าย ๆ เป็นกรณี

กรณีที่ 1 : ไม่มีอาการ ไม่ได้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด19 และไม่ได้กลับมาจากพื้นที่เสี่ยง
>> ไม่ต้องไปตรวจ

กรณีที่ 2  : ไม่มีอาการ สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด19 และกลับมาจากพื้นที่เสี่ยง
>> ยังไม่ต้องไปตรวจ “กักตัวเอง 14 วัน” สังเกตอาการตัวเอง หากมีไข้สูงขึ้น ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หอบเหนื่อยให้ไปตรวจ

กรณีที่ 3 : มีไข้ ไอ มีน้ำมูก แต่ไม่ได้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด19 และไม่ได้กลับมาจากพื้นที่เสี่ยง
>> ยังไม่ต้องไปตรวจ “กักตัวเอง 14 วัน” สังเกตอาการตัวเอง หากมีไข้สูงขึ้น ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หอบเหนื่อยให้ไปตรวจ

กรณีที่ 4 :  มีอาการเล็กน้อย มีไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ ไปสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด19 และกลับมาจากพื้นที่เสี่ยง
>> ให้รีบไปตรวจหาเชื้อโควิด19

กรณีที่ 5 : มีไข้สูง ไอ หอบเหนื่อย จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หรือมีอาการตาแดง เป็นผื่น
>> ให้รีบไปตรวจหาเชื้อโควิด19

กรณีที่ 6 : มีไข้สูง ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หอบเหนื่อย + เป็นผู้สูงอายุ มีโรคประจำตัว และมีอาการเจ็บหน้าอกเฉียบพลัน
>> ให้รีบไปตรวจหาเชื้อโควิด19

เมื่อสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ ควรทำอย่างไร?

กลุ่มที่ 1 : ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง คือมีโอกาสใกล้ชิดกับผู้ที่ติดเชื้อ มีการพูดคุยกันตั้งแต่ 5 นาทีขึ้นไป โดยที่ไม่ใส่หน้ากากอนามัย มีการไอ จามใส่กัน มีการกินอาหารจาน ช้อน หรือดื่มเครื่องดื่มแก้วเดียวกัน หรืออยู่ในห้องเดียวกัน นานกว่า 15 นาทีโดยที่อากาศไม่ถ่ายเท และไม่มีการใส่หน้ากากอนามัย

สิ่งที่ต้องดำเนินการ

    กักตัว 14 วัน จะเป็นแบบกักตัวเองที่บ้าน หรือในสถานที่ราชการกำหนด (แล้วแต่กรณี)
    ตรวจหาเชื้อโควิด19

ครั้งที่ 1 หลังจากที่ทราบว่าเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง แม้ว่าผลการตรวจในครั้งแรกจะเป็นลบ ก็ยังไม่ได้บอกว่าจะปลอดภัย ขอให้กักตัวอยู่ที่บ้าน และใส่หน้ากากอนามัยให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ไม่ควรอยู่ที่ชุมชน หรือพบปะบุคคลอื่นเด็ดขาด

ครั้งที่ 2 หลังจากตรวจครั้งที่ 1 ไปแล้ว 7 วัน

ครั้งที่ 3 หากมีข้อสงสัยหรือมีอาการ สามารถตรวจเพิ่มเติมได้

กลุ่มที่ 2 : ผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ สามารถทำกิจกรรมหรือใช้ชีวิตปกติได้ แต่แนะนำให้ใส่หน้ากากอนามัย หลีกเลี่ยงการพบปะคนหมู่มาก และสังเกตอาการตัวเอง

 สำหรับผู้ที่ไปตรวจหาเชื้อโควิด19 ระหว่างรอผลตรวจควรทำอย่างไร

    งดออกจากที่พัก หรือจังหวัดที่อาศัย
    งดไปสถานที่ชุมชน หรือสถานที่แออัด หรือมีคนเยอะ
    งดใกล้ชิดครอบครัว โดยเฉพาะผู้สูงอายุและเด็ก
    ใส่หน้ากากอนามัยให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
    กักตัวต่อให้ครบ 14 วัน


13
อาการของโรคไข้หวัดนก หรือไข้หวัดใหญ่สัตว์ปีก (Bird flu/Avian influenza)

ไข้หวัดนก (ไข้หวัดใหญ่สัตว์ปีกก็เรียก) จัดเป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอสายพันธุ์เอช 5 เอ็น 1 (H5N1) อันเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่แพร่จากสัตว์ปีกมาสู่คน พบผู้ป่วยโรคนี้ครั้งแรกที่ฮ่องกง เมื่อปี พ.ศ. 2540 ต่อมาเริ่มพบผู้ป่วยในประเทศเวียดนาม และไทย (เมื่อปลายปี พ.ศ. 2546) ในกัมพูชา อินโดนีเซีย และจีน (เมื่อปี พ.ศ. 2548) อาเซอร์ไบจัน อียิปต์ อิรัก ตุรกี จีบูติ (พ.ศ. 2549) ลาว พม่า ไนจีเรีย ปากีสถาน (พ.ศ. 2550)

ไข้หวัดนกพบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ และมีความรุนแรง ซึ่งมีอัตราตายสูง

สาเหตุ

เกิดจากการติดเชื้อไข้หวัดนก ซึ่งเป็นไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอสายพันธุ์เอช 5 เอ็น 1 เชื้อไวรัสสายพันธุ์นี้มีอยู่ในนกน้ำที่มีการอพยพย้ายถิ่น นกชายทะเล และนกป่า นกเหล่านี้เป็นพาหะของโรค (ติดเชื้อโดยไม่มีอาการเจ็บป่วย) เป็นส่วนใหญ่ แต่จะปล่อยเชื้อออกมาทางน้ำลาย น้ำมูก และมูลนก แพร่ให้นกธรรมชาติ นกบ้าน ฝูงสัตว์ปีกตามฟาร์มและบ้านเรือน เช่น ไก่ ไก่ชน ไก่งวง ไก่ต๊อก เป็ด ห่าน เป็นต้น ทำให้เกิดโรคระบาดและการตายอย่างรวดเร็วของฝูงสัตว์ปีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งไก่ที่เลี้ยงตามบ้านและฟาร์มที่เป็นโรงเรือนเปิด ส่วนเป็ดในท้องทุ่งเมื่อมีการติดเชื้อชนิดนี้ส่วนหนึ่งจะป่วยและตาย แต่ส่วนหนึ่งจะเป็นพาหะ (ไม่มีอาการเจ็บป่วย) ซึ่งสามารถแพร่เชื้อให้สัตว์ปีกอื่น ๆ ต่อไป

นอกจากนี้ยังพบว่า เชื้อไข้หวัดนกยังสามารถติดต่อไปยังสัตว์ประเภทเสือ สุนัข แมว และหมู ทำให้สัตว์เหล่านี้ป่วยและตายได้ สำหรับแมวพบว่าสามารถติดต่อจากแมวสู่แมวด้วยกันเองได้อีกด้วย

การติดเชื้อจากสัตว์ปีกมาสู่คน สัตว์ปีกที่ป่วยจะมีเชื้อไวรัสเอช 5 เอ็น 1 อยู่ในน้ำมูก น้ำลาย น้ำตา และมูลสัตว์ ซึ่งจะปนเปื้อนอยู่ตามตัวของสัตว์ปีกและสิ่งแวดล้อม คนเราสามารถติดเชื้อไข้หวัดนกได้ 2 ทาง ได้แก่

1. การสัมผัสกับสัตว์ปีก (โดยเฉพาะไก่) ที่ป่วยโดยตรง

2. การสัมผัสถูกสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนเชื้อในบริเวณที่เกิดโรคระบาดของสัตว์ปีก เช่น ดิน กรงหรือเล้าสัตว์ น้ำหรืออาหารที่ป้อนสัตว์ เป็นต้น

เชื้อจะติดมากับมือของผู้ป่วย เมื่อเผลอใช้นิ้วมือแยงตา แยงจมูก เชื้อก็จะเข้าสู่ร่างกายทางเยื่อบุตาและเยื่อบุจมูก

ระยะฟักตัว 2-8 วัน (เฉลี่ย 4 วัน)

กลุ่มคนที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ ได้แก่ ผู้ที่คลุกคลีสัมผัสใกล้ชิดกับไก่ที่ป่วย หรืออยู่ในบริเวณที่มีการระบาดของไข้หวัดนกในฝูงสัตว์ปีก เช่น ผู้ที่เลี้ยงไก่ ทำงานในฟาร์มไก่ ขนย้ายไก่ ชำแหละไก่ เด็กที่เล่นคลุกคลีกับไก่ ผู้ที่ทำหน้าที่ทำลายสัตว์ปีก เป็นต้น

การติดเชื้อจากคนสู่คนแบบไข้หวัดใหญ่นั้นเกิดได้ยาก จะต้องมีการสัมผัสอย่างใกล้ชิด เช่น แม่ดูแลลูกที่ป่วย โดยการสัมผัสน้ำลายหรือเสมหะของผู้ป่วย และการติดต่อจะสิ้นสุดที่ผู้ติดเชื้อคนที่ 2 (เช่น แม่ที่ติดเชื้อจากลูก) ไม่ติดต่อให้คนที่ 3 ต่อไป

แต่เกรงกันว่า เชื้อไข้หวัดนกอาจกลายพันธุ์โดยการแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรมระหว่างไวรัสไข้หวัดนกกับไวรัสไข้หวัดใหญ่ของคน เมื่อคนหรือหมูติดเชื้อไวรัสทั้ง 2 ชนิดพร้อมกัน หากเกิดการกลายพันธุ์ก็สามารถติดจากคนสู่คนได้ง่าย และอาจมีการระบาดรุนแรงดังที่เคยเกิดขึ้นในอดีต (ในปี พ.ศ. 2461-2462 มีการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่สเปน ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกราว 20-40 ล้านคน เกิดจากการกลายพันธุ์ของไวรัสไข้หวัดใหญ่โดยการแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรมในหมู)


อาการ

ผู้ป่วยจะมีอาการแบบไข้หวัดใหญ่ คือเริ่มด้วยอาการไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อทั่วตัว อ่อนเพลีย เจ็บคอ น้ำมูกไหล ไอ บางรายอาจมีอาการตาแดง ปวดท้อง อาเจียน หรือท้องเดินร่วมด้วย

ต่อมาผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการหายใจหอบเนื่องจากปอดอักเสบ ซึ่งอาจเกิดตั้งแต่ 1-16 วัน (ค่ามัธยฐาน 5 วัน) หลังมีไข้ บางรายอาจมีอาการปอดอักเสบหลังจากมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดินนำมาก่อน โดยไม่มีอาการเจ็บคอ เป็นหวัด ไอก็ได้

นอกจากนี้ บางรายอาจมีอาการท้องเดินรุนแรงนำมาก่อน แล้วตามมาด้วยอาการชัก หมดสติ และตายเนื่องจากภาวะสมองอักเสบก็ได้

ในรายที่เป็นไม่รุนแรงและไม่มีภาวะแทรกซ้อนก็จะหายได้เองภายใน 2-7 วัน อาการรุนแรงมักพบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่

บางรายอาจติดเชื้อโดยไม่มีอาการแสดงก็ได้


ภาวะแทรกซ้อน

ที่สำคัญก็คือ ปอดอักเสบ (ซึ่งเกิดจากไวรัสเป็นส่วนใหญ่) และกลุ่มอาการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (acute respiratory distress syndrome/ARDS) ซึ่งอาจเกิดตั้งแต่ 4-13 วัน (ค่ามัธยฐาน 6 วัน) หลังมีไข้ และเป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ การเสียชีวิตเกิดตั้งแต่ 9-30 วัน (ค่ามัธยฐาน 12 วัน) หลังมีไข้

นอกจากนี้ ยังอาจพบภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น หัวใจวาย ไตวาย ตับอักเสบ เลือดออกในปอด (pulmonary hemorrhage) ปอดทะลุ ภาวะพร่องเม็ดเลือดทุกชนิด (pancytopenia) โรคเรย์ซินโดรม กลุ่มอาการโลหิตเป็นพิษ (sepsis syndrome) เป็นต้น


การวินิจฉัย

แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการและสิ่งตรวจพบดังนี้

ไข้ ≥ 38 องศาเซลเซียส

อาจพบอาการน้ำมูกไหล (พบได้ประมาณร้อยละ 50-60 ของผู้ป่วย)

ในรายที่มีปอดอักเสบร่วมด้วย จะพบอาการหายใจหอบ ใช้เครื่องตรวจฟังปอดอาจได้ยินเสียงกรอบแกรบ (crepitation)

แพทย์จะทำการวินิจฉัยให้แน่ชัด โดยการนำสิ่งคัดหลั่งบริเวณคอหอย โพรงหลังจมูก หรือหลอดลมไปตรวจหาเชื้อไวรัสเอช 5 เอ็น 1 ด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น immunofluorescent assay (IFA), reverse transcriptase-poly-merase chain reaction (RT-PCR), real time PCR การแยกเชื้อในเซลล์เพาะเลี้ยง เป็นต้น และทำการตรวจพิเศษ เช่น เอกซเรย์ปอด (พบร่องรอยการอักเสบของปอด) ตรวจเลือด (พบเกล็ดเลือดต่ำ เม็ดเลือดขาวต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ต่ำ เอนไซม์ตับ ได้แก่ AST และ ALT สูง ครีอะตินีนสูง)

การรักษาโดยแพทย์

ถ้าพบผู้ป่วยเป็นไข้ (≥ 38 องศาเซลเซียส) ไข้หวัดหรือไข้ร่วมกับหายใจหอบ และมีประวัติสัมผัสกับสัตว์ปีกที่ป่วยหรือตายภายใน 7 วันก่อนป่วย หรืออยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของไข้หวัดนกภายใน 14 วันก่อนป่วย หรือพบผู้ป่วยที่สงสัยเป็นไข้หวัดนก ควรส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลโดยเร็ว

ถ้าตรวจพบหรือสงสัยเป็นไข้หวัดนก มักจะต้องรับตัวผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล

การรักษา แพทย์จะให้ยาต้านไวรัส ได้แก่ โอเซลทามิเวียร์ (oseltamivir) นาน 5 วัน ยานี้จะใช้ได้ผลดีควรให้ภายใน 48 ชั่วโมงหลังมีอาการ

ในรายที่มีอาการรุนแรง แพทย์อาจพิจารณาเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เท่า นาน 7-10 วัน

นอกจากนี้ จะให้การรักษาตามอาการหรือภาวะที่พบร่วม เช่น ถ้าหายใจหอบก็ใช้เครื่องช่วยหายใจ และให้ออกซิเจน

ถ้าสงสัยมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ก็ให้ยาปฏิชีวนะตามชนิดของเชื้อที่สงสัย

ในรายที่มีภาวะการหายใจล้มเหลว อาจพิจารณาให้สเตียรอยด์ (ซึ่งยังสรุปไม่ได้แน่ชัดถึงประโยชน์ของการใช้ยานี้)

ผลการรักษา ขึ้นกับความรุนแรงของโรค ในรายที่มีการติดเชื้อรุนแรงถึงขั้นเกิดภาวะการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน มักจะมีอัตราตายสูง มักตายภายใน 6-30 วันหลังมีอาการ (เฉลี่ย 9-10 วัน)

ในรายที่มีอาการไม่รุนแรงและไม่มีภาวะแทรกซ้อน ก็มักจะรักษาให้หายขาดได้

การดูแลตนเอง

หากสงสัย เช่น มีไข้หลังจากสัมผัสใกล้ชิดกับสัตว์ปีกที่มีอาการป่วยหรือตาย หรืออยู่ในบริเวณที่มีการระบาดของไข้หวัดนกในฝูงสัตว์ปีก หรือสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ หรือเพิ่งกลับจากการเดินทางไปยังประเทศหรือเขตพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคนี้ ควรปรึกษาแพทย์โดยเร็ว

เมื่อตรวจพบว่าเป็นไข้หวัดนก ควรดูแลรักษาและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์


การป้องกัน

1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ปีกที่มีอาการป่วยหรือตาย และไม่นำสัตว์ปีกพวกนี้มาชำแหละเป็นอาหาร

2. หากจำเป็นต้องสัมผัสสัตว์ปีกในช่วงที่มีการระบาดของไข้หวัดนก ให้สวมหน้ากากอนามัย และถุงมือ (ถ้าไม่มีให้สวมถุงพลาสติกหนา ๆ แทน)

3. ล้างมือด้วยน้ำกับสบู่ทุกครั้งหลังการสัมผัสสัตว์ปีก น้ำลาย น้ำมูก และมูลของสัตว์ปีก

4. กินเนื้อสัตว์ปีก หรือไข่ที่ปรุงให้สุกแล้ว

5. เมื่อสมาชิกในบ้านเป็นไข้หรือไข้หวัด ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับการป้องกันไข้หวัด (อ่านเพิ่มเติมที่หัวข้อ "การป้องกัน" ในโรคไข้หวัด)

หากสงสัยเป็นไข้หวัดนก ให้รีบพาผู้ป่วยไปโรงพยาบาลโดยเร็ว และผู้ที่สัมผัสผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาให้กินยาต้านไวรัส ได้แก่ โอเซลทามิเวียร์ป้องกัน ผู้ใหญ่กินขนาด 75 มก. (เด็กใช้ขนาดครึ่งหนึ่งของที่ใช้ในการรักษา) วันละครั้ง นาน 7-10 วัน

6. สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข

    ในกรณีที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วย ควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ (ถ้าหากเป็นพร้อมกับไข้หวัดนก ก็อาจเสี่ยงต่อการทำให้มีการแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรม จนกลายพันธุ์เป็นไข้หวัดนกที่แพร่จากคนสู่คนได้ง่าย)
    ทุกครั้งที่ให้การดูแลผู้ป่วยไข้หวัดนก ควรสวมหน้ากากอนามัย แว่นตาป้องกันการติดเชื้อ และเสื้อกาวน์ รวมทั้งหมั่นล้างมือด้วยน้ำกับสบู่
    ถ้ามีการสัมผัสผู้ป่วยไข้หวัดนก โดยไม่ได้ทำตามมาตรการป้องกันดังกล่าว ควรกินยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ขนาด 75 มก. วันละครั้ง นาน 7-10 วัน
    เมื่อมีการสัมผัสผู้ป่วยไข้หวัดนก ควรเฝ้าระวังสังเกตอาการและวัดไข้ทุกวัน จนพ้นระยะฟักตัวของโรค หากมีอาการน่าสงสัย ควรรีบทำการตรวจวินิจฉัย และอาจจำเป็นต้องให้ยารักษาแต่เนิ่น ๆ

การป้องกันและควบคุมโรคระบาดในสัตว์ปีก

1. ป้องกันไม่ให้นกอพยพและสัตว์พาหะอื่น ๆ เข้ามาในฟาร์ม

2. นำไก่อายุเดียวกันเข้าฟาร์มมาทีละชุด และควรแยกขังสัตว์ที่นำเข้ามาใหม่ไว้ก่อนจนพ้นระยะฟักตัวของโรค

3. ดำเนินมาตรการป้องกันการแพร่เชื้อเข้ามาในฟาร์มอย่างเข้มงวด เช่น ไม่นำวัสดุรองพื้น ถาดไข่ และวัสดุอุปกรณ์จากพื้นที่ระบาดมาใช้ ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อตามยานพาหนะ วัสดุ อุปกรณ์

4. ฉีดวัคซีนป้องกันเฉพาะในสัตว์ปีกที่มีราคาแพง เช่น สัตว์ปีกสวยงาม ไก่ชน

5. เฝ้าระวังโรคในสัตว์ปีกอย่างใกล้ชิด ถ้าสงสัยสัตว์ปีกป่วยเป็นไข้หวัดนก (มีอาการไข้ หงอยซึม ไม่กินอาหาร ขนยุ่ง หน้า หงอน และเหนียงบวม และมีสีแดงคล้ำ มีจุดเลือดออกที่หน้าแข้ง ไอ จาม น้ำมูกไหล อาจมีอาการท้องเสีย ชัก และลดการไข่ หรือไข่มีลักษณะผิดปกติ ตายอย่างรวดเร็วภายใน 24-48 ชั่วโมง) ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ เพื่อดำเนินการควบคุมโรค ดังนี้

    ในฟาร์มที่มีการระบาด ต้องทำลายสัตว์ปีกทั้งหมด รวมทั้งสัตว์ปีกในพื้นที่ควบคุมรัศมี 1-5 กม.
    เก็บตัวอย่างมูลสัตว์ (cloacal swab) ในพื้นที่ควบคุมส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
    ซากไก่ เป็ด ไข่ รวมทั้งมูลสัตว์ในพื้นที่ระบาดต้องทำลายทิ้งทั้งหมดด้วยการฝังหรือเผา ห้ามนำมาบริโภค หรือนำไปทำปุ๋ย หรือเลี้ยงสัตว์

วิธีฝัง ให้ใส่ซากสัตว์ในถุงพลาสติก รัดปากถุงให้แน่น ฝังให้ห่างจากบ่อน้ำหรือแหล่งน้ำธรรมชาติอย่างน้อย 30 เมตร ฝังซากให้ลึกอย่างน้อย 1 เมตร แล้วโรยปูนขาวหรือราดน้ำยาฆ่าเชื้อ หรืออาจใช้น้ำเดือดราดที่ซากก่อนกลบดินให้แน่น

    ทำความสะอาด และฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อทั่วโรงเรือนและบริเวณโดยรอบอย่างสม่ำเสมอ
    ห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์ปีก และเฝ้าระวังการติดเชื้อในพื้นที่ควบคุมรัศมี 50 กม.
    กรณีที่ต้องการเก็บซากสัตว์เพื่อทำลาย หรือส่งตรวจชันสูตร ควรสวมอุปกรณ์ป้องกัน (เช่น ถุงมือ หน้ากากอนามัย) เมื่อเสร็จงานแล้ว ควรนำอุปกรณ์และเสื้อผ้าไปทำความสะอาดด้วยน้ำที่ผสมผงซักฟอก ผึ่งแดดให้แห้ง เสร็จแล้วต้องรีบล้างมือ และอาบน้ำชำระร่างกายด้วยน้ำกับสบู่ทันที
    ในพื้นที่ที่เกิดโรคระบาด ห้ามนำสัตว์ปีกเข้ามาเลี้ยงใหม่จนกว่าจะตรวจสอบไม่พบการติดเชื้อเป็นเวลาอย่างน้อย 21 วัน

ข้อแนะนำ

1. เนื่องจากโรคนี้มีอาการคล้ายไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ แต่มีอันตรายร้ายแรงกว่ากันมาก เนื่องจากเกิดจากไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งคนเรายังขาดภูมิคุ้มกันต่อเชื้อชนิดนี้ ดังนั้น ถ้าพบผู้ป่วยที่มีอาการไข้หรือเป็นไข้หวัด และมีประวัติว่ามีการสัมผัสกับสัตว์ปีกที่ป่วยหรือตาย หรือผู้ป่วยไข้หวัดนก ภายใน 7 วันก่อนไม่สบาย หรืออยู่ในพื้นที่ที่เกิดการระบาดของไข้หวัดนกภายใน 14 วันก่อนไม่สบาย ก็ควรส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลโดยเร็ว หากเป็นโรคนี้ควรได้ยาต้านไวรัสภายใน 48 ชั่วโมงหลังมีอาการ ซึ่งอาจช่วยลดความรุนแรงของโรคลงได้

2. ผู้ที่สัมผัสสัตว์ปีก (โดยเฉพาะอย่างยิ่งไก่หรือเป็ด) ที่ป่วยหรือตาย หรือผู้ป่วยไข้หวัดนก ควรเฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด หากเป็นไปได้ควรทำการวัดไข้ด้วยปรอททุกวัน วันละ 2 ครั้ง จนพ้นระยะฟักตัวของโรค

3. แม้ว่าในปัจจุบันการติดเชื้อจากคนที่เป็นไข้หวัดนกโดยตรงนั้นยังเกิดขึ้นได้ยาก ซึ่งต้องอยู่สัมผัสกันอย่างใกล้ชิด แต่เพื่อความปลอดภัย แพทย์ บุคลากรสาธารณสุขที่ดูแลผู้ป่วย จะต้องป้องกันตัวเองไม่ให้ติดเชื้อจากผู้ป่วย (อ่านเพิ่มเติมที่หัวข้อ "การป้องกัน" ด้านบน)

4. ถึงแม้ในปัจจุบันไม่มีรายงานการเกิดผู้ป่วยไข้หวัดนก แต่ควรติดตามเฝ้าระวัง หากมีผู้ป่วยเกิดขึ้นใหม่จะได้ระมัดระวังหาทางป้องกันไม่ให้เป็นโรคร้ายแรงชนิดนี้

14
motor show 2025: Ford Ranger XLS ปรับโฉมรุ่นปี 2024 เน้นสปอร์ต หรูหรา พร้อมราคาเพียง 7.99 แสนบาทถึงสิ้นปี

ฟอร์ด ลุยกระตุ้นตลาดกระบะสี่ประตูยกสูงด้วยการปรับโฉมรุ่นย่อยหลัก ฟอร์ด เรนเจอร์ XLS ใหม่ รุ่นปี 2024 กระบะยกสูงเกียร์อัตโนมัติรุ่นเริ่มต้นในตระกูล ฟอร์ด เรนเจอร์ ด้วยการปรับดีไซน์ภายนอกให้ดูดุดันยิ่งขึ้น เพิ่มความหรูหราสะดวกสบายภายในห้องโดยสาร สร้างความคุ้มค่าสูงสุดสำหรับลูกค้าที่มองหากระบะอเนกประสงค์ที่ตอบโจทย์การใช้งานรอบด้าน ทั้งใช้เพื่อการทำงาน เป็นรถสำหรับครอบครัว และการเดินทางท่องเที่ยวพักผ่อน ด้วยราคาพิเศษช่วงเปิดตัวสำหรับรุ่น 4 ประตูเพียง 799,000 บาท จากราคาเต็ม 919,000 บาท ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567 

การออกแบบภายนอก ฟอร์ด เรนเจอร์ XLS ใหม่ รุ่นปี 2024 ให้ความรู้สึกสปอร์ตยิ่งขึ้นด้วยการตกแต่งสีดำรอบคัน ตั้งแต่กระจังหน้า กระจกมองข้าง ช่องระบายอากาศด้านข้าง กรอบไฟตัดหมอก มือจับประตู และกันชนท้าย รวมถึงล้ออัลลอยสีดำดีไซน์ใหม่ขนาด 17 นิ้ว

และยังคงเอกลักษณ์อันโดดเด่นของ ฟอร์ด เรนเจอร์ ด้วยไฟหน้าแบบแอลอีดี มัลติรีเฟลกเตอร์ พร้อมไฟวิ่งกลางวันแบบแอลอีดี และบันไดเหยียบข้างกระบะท้าย ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้การขนของจากท้ายกระบะ

 เสริมความหรูหราภายในห้องโดยสาร เป็นครั้งแรกที่ฟอร์ดมอบความหรูหราและความคุ้มค่าสูงสุดให้กับรถกระบะรุ่นเริ่มต้น กับการตกแต่งภายในด้วยเบาะหนัง และแผงคอนโซลด้านหน้าที่ปรับดีไซน์ให้เข้ากับภายนอกที่ดูสปอร์ตมากขึ้น มาพร้อมหน้าจอขนาด 10.1 นิ้ว รองรับการเชื่อมต่อ Apple CarPlay® และ Android Auto™ แบบไร้สาย

พร้อมติดตั้งโมเด็มสำหรับเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชั่นฟอร์ดพาส ให้ลูกค้าเชื่อมต่อการสื่อสารกับรถได้ตลอดเวลา ช่วยยกระดับประสบการณ์การเป็นเจ้าของรถอย่างเหนือระดับด้วยฟีเจอร์ที่น่าสนใจ เช่น การสตาร์ทรถจากระยะไกล ตรวจเช็คข้อมูลรถเบื้องต้น รวมถึงการล็อคและปลดล็อคจากระยะไกลผ่านสมาร์ทโฟน พร้อมพวงมาลัยไฟฟ้าที่ช่วยผ่อนแรงในการขับขี่ ปรับน้ำหนักให้เบาที่ความเร็วต่ำ และเพิ่มน้ำหนักเมื่อความเร็วสูง มอบความสะดวกสบายและความมั่นใจในการขับขี่ทั้งทางใกล้และไกล

ฟอร์ด เรนเจอร์ XLS ใหม่ รุ่นปี 2024 แบบ 4 ประตู ติดตั้งขุมพลังเครื่องยนต์ดีเซล 2.0 ลิตร เทอร์โบเดี่ยว พร้อมเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด ให้กำลังสูงสุด 170 แรงม้า และแรงบิดสูงสุด 405 นิวตันเมตร อัดแน่นด้วยฟีเจอร์และอุปกรณ์เทคโนโลยีครบครัน เพื่อตอบโจทย์การเป็นรถกระบะใช้งานแบบอเนกประสงค์ มาพร้อมความแข็งแกร่งของตัวถังและช่วงล่าง และระบบความปลอดภัยมากมาย อาทิ ถุงลมนิรภัย 6 จุด ได้แก่ คู่หน้า ด้านข้าง และม่านถุงลมนิรภัย กล้องมองหลังขณะถอยจอด ระบบช่วยโทรฉุกเฉิน รวมถึงระบบควบคุมเสถียรภาพการทรงตัว ESP และ ระบบป้องกันล้อหมุนฟรี

“ฟอร์ดเชื่อมั่นว่าการปรับโฉมฟอร์ด เรนเจอร์ XLS ใหม่ ให้ดูสปอร์ตและหรูหราขึ้น จะทำให้รถฟอร์ด เรนเจอร์ เป็นตัวเลือกที่โดนใจมากขึ้นสำหรับลูกค้าที่มองหาความคุ้มค่า โดยเฉพาะการมอบราคาพิเศษช่วงเปิดตัวที่    เร้าใจ นับเป็นการต่อยอดความสำเร็จในตลาดกระบะยกสูงที่ฟอร์ดเชี่ยวชาญอยู่แล้ว และได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าทั้งด้านสมรรถนะ ความแข็งแกร่ง ความอเนกประสงค์ และความปลอดภัย” นายรัฐการ จูตะเสน กรรมการผู้จัดการ ฟอร์ด ประเทศไทย กล่าว 

ฟอร์ด เรนเจอร์ XLS ใหม่ รุ่นปี 2024 แบบ 4 ประตู มีให้เลือก 4 สี ได้แก่ สีเงิน Aluminium Metallic สีขาว Arctic White สีเทา Meteor Grey และสีดำ Absolute Black พร้อมการรับประกันเครื่องยนต์และระบบส่งกำลังนาน 5 ปี หรือ 150,000 กม. และฟรีค่าแรงเช็กระยะ บริการช่วยเหลือฉุกเฉิน 24 ชั่วโมง นาน 5 ปี พร้อมให้คุณเป็นเจ้าของได้แล้ววันนี้ ที่โชว์รูมฟอร์ด ทั่วประเทศ

15
รีไฟแนนซ์บ้านก่อน 3 ปี จะโดนปรับมั้ย ใช้เอกสารอะไรบ้าง

ยุคดอกเบี้ยขึ้นไม่หยุดแบบนี้ คนที่ต้องแบกภาระการผ่อน โดยเฉพาะผ่อนของชิ้นใหญ่อย่างบ้านหรือคอนโด อาจต้องเหนื่อยกันเพิ่มแน่นอน เพราะผ่อนเท่าไหร่เงินต้นก็แทบจะไม่ลดเลย หมดไปกับการผ่อนดอกเบี้ยเสียมากกว่า... ทางออกสำหรับคนอยากลดภาระการผ่อน ลดดอกเบี้ย ลดยอดผ่อนต่อเดือน ที่นิยมทำกันมาตลอดก็คือ "รีไฟแนนซ์" นั่นเอง การขอสินเชื่อใหม่ ทำเรื่องใหม่ ทำเอกสารใหม่กับแบงก์แห่งใหม่ แต่ว่าการรีไฟแนนซ์ก็ไม่ใช่ว่านึกจะทำก็ทำได้นะคะ เพราะส่วนใหญ่จะสัญญาจำกัดอยู่ว่าต้องผ่อนบ้านมาแล้วตั้งแต่ 3 ปี 5 ปี ขึ้นไปเท่านั้น แต่หากเราผ่อนไม่ไหวจริงๆ ล่ะ อยากลดภาระแล้ว และก็ผ่อนบ้านมาไม่นาน จะรีไฟแนนซ์ได้มั้ย? จะโดนค่าปรับหรือเปล่า? วันนี้ไปความเข้าใจกันค่ะ
 
Q : รีไฟแนนซ์ก่อน 3 ปี ทำได้มั้ย?
A : ทำได้... แต่ต้องเสียค่าปรับ
 
สัญญาส่วนใหญ่จะระบุให้รีไฟแนนซ์ได้หลัง 3 ปี หากรีไฟแนนซ์ก่อนกำหนด ต้องเสียค่าปรับ 2-3% ของยอดหนี้คงเหลือ (ระยะเวลาขึ้นอยู่กับสัญญาเงินกู้ของแต่ละธนาคารด้วย)
 
ก่อนรีไฟแนนซ์บ้านต้องพิจารณาอะไรบ้าง
1. อัตราดอกเบี้ยใหม่ต้องต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยปัจจุบัน
2. ค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายจำนวนเท่าไหร่ เช่น ค่าประเมินมูลค่าหลักประกัน, ค่าประกันอัคคีภัย
 
รีไฟแนนซ์มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง
1. ค่าปรับการคืนเงินกู้ก่อนกำหนดตามสัญญา ประมาณ 2-3% ของวงเงินกู้ทั้งจำนวน
2. ค่าจัดการสินเชื่อตามสัญญาใหม่ ประมาณ 0-1% ของวงเงิน
3. ค่าธรรมเนียมในการจำนอง ประมาณ 1% ของราคาประเมิน
4. ค่าประเมินราคาหลักประกัน ประมาณ 2,500 บาท-0.25% ของราคาประเมิน
5. ค่าทำประกันอัคคีภัย ประมาณ 2,000 บาท
6. ค่าอากรแสตมป์ ประมาณ 0.05% ของวงเงิน
7. ค่าธรรมเนียมอื่นๆ เป็นไปตามเงื่อนไขของธนาคาร
 
รีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารเดิมได้หรือเปล่า
เราสามารถขอลดดอกเบี้ยจากธนาคารเดิม โดยเรียกว่า Retention ซึ่งทำได้หลังจากผ่อนบ้านในอัตราดอกเบี้ยคงที่ครบ 3 ปีแล้วเช่นกัน
 
สถานการณ์ไหนที่ไม่ควรรีไฟแนนซ์
1. ยังอยู่ในช่วงที่มีค่าปรับจากธนาคารเดิม
2. เหลือยอดหนี้น้อยมา หรือเหลือระยะเวลาอีกไม่เกิน 1-2 ปีก็จะหมดหนี้
จริงๆ แล้วการรีไฟแนนซ์ไม่ใช่เรื่องยากค่ะ แต่อาจยุ่งยากเรื่องการเตรียมตัวเตรียมเอกสารสักหน่อย และสำหรับใครที่ผ่อนบ้านมาได้ไม่นาน แต่มีความจำเป็นต้องรีไฟแนนซ์จริงๆ ก็สามรถทำได้นะคะ แต่ว่าต้องจ่ายในส่วนค่าปรับนิดนึง อัตราก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละธนาคารด้วย ใครจะรีไฟแนนซ์อย่าลืมเช็กดอกเบี้ยให้ดีๆ นะคะ ว่าคุ้มจริงมั้ย ลดภาระผ่อนมากน้อยแค่ไหน จะได้คุ้มค่ากับการตัดสินใจนะคะ

หน้า: [1] 2 3 ... 66