ผู้เขียน หัวข้อ: ฉนวนกันเสียง: ลดเสียงสะท้อน เสียงก้องของห้อง พร้อมสวยอย่างมีสไตล์  (อ่าน 462 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 997
  • จำหน่ายเครื่องจักรอุตสาหกรรมและสินค้าอุตสาหกรรม
    • ดูรายละเอียด
ปัจจุบัน บ้านเป็นมากกว่าที่อยู่อาศัย หลายคนอาจเปลี่ยนจากการทำงานที่ออฟฟิศ สลับมาทำงานที่บ้านแทน หรือใช้เป็นห้องอัดคลิป อัดเสียง ตามสไตล์ยูทูปเบอร์อาชีพที่กำลังมาแรง นอกจากการทำงานแล้วยังเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ เช่นห้องโฮมเธียเตอร์ แทนการออกไปดูภาพยนตร์ การทำห้องเป็นห้องซ้อมดนตรี ห้องฟังเพลง เป็นต้น


ห้องเหล่านี้ เป็นห้องที่ต้องใช้เสียง หากวัสดุไม่มีประสิทธิภาพพอ อาจทำให้เกิดเสียงก้อง เสียงสะท้อนไปมาได้ ซึ่งเราสามารถแก้ไขได้โดยการเลือกใช้วัสดุอะคูสติกแผ่นซับเสียง ผนังตกแต่งที่มีคุณสมบัติในการดูดซับเสียง ซึ่งผลิตมาจากแผ่นกลาสวูล มีน้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย และมีการหุ้มภายนอกด้วยผ้าแบรนด์ Pasaya ที่มีสีสันเลือกถึง 17 สี อีกทั้งมีการเคลือบสารกันน้ำ ทำให้สามารถเช็ดทำความสะอาดได้ง่าย และยังทนต่อการขัดถู ทำให้ไม่เป็นขุย สีไม่ตก จึงมีอายุการใช้งานคงทนยาวนาน และยังทำให้ห้องสดใสสวยงามได้ยาวนานอีกด้วย ทำให้สามารถดีไซน์การตกแต่งได้ตามสไตล์ที่เจ้าของห้องต้องการได้เลย ลองมาดูตัวอย่างการตกแต่งห้องจากวัสดุอะคูสติกแผ่นซับเสียงกันครับ


ด้านคุณสมบัติในการซับเสียงนั้น แผ่นซับเสียง วัสดุอะคูสติก มีค่าการดูดซับเสียงสูงอยู่ที่ NRC ( Noise Reduction Coefficient = 0.75 ) ซึ่งจากคุณสมบัติทั้งหมดไม่ว่าจะด้วยเรื่องประสิทธิภาพการดูดซับเสียง รวมทั้งการช่วยแต่งเติมห้องให้สวยงามได้ตามสไตล์เจ้าของบ้านนั้น ถือว่ามีความคุ้มค่าน่าลงทุนในการปรับเปลี่ยนห้องเป็นอย่างมากครับ ซึ่งสามารถปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงจากเอสซีจี เพื่อออกแบบ และติดตั้งให้ตรงใจมากที่สุดครับ


เมื่อไรควรเลือกใช้ “ ม่านกันเสียง ” - ฉนวนกันเสียง

ม่านกันเสียง อีกหนึ่งสินค้าของ ฉนวนกันเสียง ที่ช่วยแก้ปัญหาเสียงดัง

สำหรับการแก้ปัญหาเสียงดังรบกวนจากเครื่องจักรนั้น สามารถทำได้หลากหลายวิธีตั้งแต่การปรับปรุง การย้าย การสร้างห้องกันเสียง เป็นต้น แต่ในกรณีที่ไม่สามารถกระทำการดังกล่าวได้ การใช้ม่านกันเสียงมาช่วยแก้ปัญหาก็เป็นทางออกที่น่าสนใจอีกทางหนึ่ง ตัวอย่างของการนำม่านกันเสียงมาประยุกต์ใช้

    ติดตั้งม่านกันเสียงรอบมอเตอร์หรือแหล่งกำเนิดเสียงรบกวนที่ต้องมีการถ่ายเทความร้อน
    เลือกใช้ม่านกันเสียงเฉพาะด้านประตูหรือด้านที่ต้องมีการเปิดปิดเข้าออกบ่อยครั้ง
    นำม่านกันเสียงมาใช้ในพื้นที่ที่ต้องการป้องกันเสียงจากด้านหนึ่งดังรบกวนมายังอีกด้านหนึ่ง
    ติดตั้งม่านกันเสียงรอบพื้นที่หรือโต๊ะทำงานเฉพาะกิจของช่างที่มีเสียงดังรบกวนพื้นที่ส่วนรวม
    แขวนม่านกันเสียงรอบที่ตั้งปั๊มลมหรือคอมเพรสเซอร์เพื่อลดเสียงดังขณะที่เครื่องทำงาน


ม่านกันเสียง

ข้อควรทราบคือ “ม่านกันเสียง” ที่กันเสียงได้ดีหรือลดทอนกำลังงานเสียงลงได้มาก จะมีน้ำหนักที่ค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับม่านตามอาคารบ้านพักอาศัยทั่วไป การนำม่านกันเสียงสำหรับอุปกรณ์หรืองานอุตสาหกรรมไปประยุกต์ใช้ในอาคารบ้านเรือนจึงต้องคำนึงถึงเรื่องความสะดวกในการจัดเก็บด้วย ม่านกันเสียงโดยทั่วไปจะลดระดับเสียงลงได้ประมาณ 5-10 dBA แต่หากนำมาประยุกต์ใช้กับฉนวนกันเสียง หรือวัสดุกันเสียงประเภทอื่นๆ ที่อยู่ในรูปห้องกันเสียงแบบเปิดด้านหน้า ตู้กันเสียงแบบเปิดเฉพาะด้านข้าง หรือผนังกันเสียงที่ต้องมีการติดตั้งม่านกันเสียงในรูปตัวแอลหรือตัวยู ระดับเสียงที่ลดลงก็อาจจะมากกว่า 10 dBA ในกรณีที่เป็นเสียงความถี่สูง (โดยเฉพาะย่านความถี่ตั้งแต่ 4000 Hz ขึ้นไป)



ฉนวนกันเสียง: ลดเสียงสะท้อน เสียงก้องของห้อง พร้อมสวยอย่างมีสไตล์ อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://noisecontrol365.com/