ผู้เขียน หัวข้อ: หมอประจำบ้าน: โรคหวาดกลัวโรงเรียน  (อ่าน 244 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 992
  • จำหน่ายเครื่องจักรอุตสาหกรรมและสินค้าอุตสาหกรรม
    • ดูรายละเอียด
หมอประจำบ้าน: โรคหวาดกลัวโรงเรียน
« เมื่อ: วันที่ 11 กันยายน 2024, 17:59:18 น. »
หมอประจำบ้าน: โรคหวาดกลัวโรงเรียน

โรคหวาดกลัวโรงเรียน เป็นความผิดปกติของเด็กที่มีความกลัวต่อโรงเรียนอย่างไม่สมเหตุสมผลซึ่งสืบเนื่องมาจากความวิตกกังวลในจิตใจทำให้เด็กไม่ยอมไปโรงเรียน เด็กที่มีความกลัวต่อการไปโรงเรียนพฤติกรรมจะแตกต่างจากเด็กที่มีความขี้เกียจหรือเด็กที่หนีเรียน เด็กที่มีการหลีกเลี่ยงโรงเรียนต้องการที่จะอยู่ในการดูแลใกล้ชิดกับผู้ปกครองในขณะที่เด็กที่หนีเรียนไม่ได้เป็นเช่นนั้น โรคหวาดกลัวโรงเรียนเด็กจะรู้สึกว่าตนเองไม่ปลอดภัย คุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครองควรสังเกตว่าลูกๆ ของเรามีอาการของโรคหวาดกลัวโรงเรียนหรือไม่ แล้วถ้าลูกมีอาการของโรคนี้ควรรับมืออย่างไร

เด็กที่มีอาการของโรคหวาดกลัวโรงเรียน จะมีความวิตกกังวลซึ่งแสดงออกเป็นพฤติกรรมหรืออาการได้หลายรูปแบบ เช่น อาจยืนร้องไห้ หรือร้องโวยวาย งอแงไม่อยากไปโรงเรียน ไม่ยอมลุกจากเตียง หรือมีอารมณ์เกรี้ยวกราดเมื่อต้องแยกออกจากคุณพ่อคุณแม่ บางครั้งการที่คุณพ่อคุณแม่ใส่ใจและมีความรักเปี่ยมล้น แต่อาจจะเป็นการแสดงออกถึงการปกป้องที่มากจนมากเกินไป เป็นผลให้เด็กที่ต้องไปโรงเรียนบางคนขาดความมั่นใจในตนเองและขาดความสามารถที่จะรับมือกับชีวิตในโรงเรียน สำหรับเด็กที่มีความเสี่ยงต่อโรคหวาดกลัวโรงเรียน ได้แก่ กลุ่มที่ไม่มีพี่น้อง เด็กที่ต้องเข้าโรงเรียนตั้งแต่ยังเล็ก และเด็กที่มีโรคประจำตัว เป็นต้น

โดยทั่วไป เด็กส่วนใหญ่มักร้องไห้หรือโวยวายกับการไปโรงเรียนเพียงครั้งเดียวหรือ 2-3 ครั้ง แต่เด็กที่มีโรคหวาดกลัวโรงเรียนมักจะมีอาการเช่นนี้เป็นประจำ และขาดเรียนติดต่อกันหลายๆ วัน ด้วยเหตุผลที่คลุมเครือ เช่น ปวดท้อง ปวดหัว คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจหากลูกๆ ของเรามีอาการเหล่านี้ปรากฏ เช่น วิตกกังวล ซึมเศร้า กลัว หรือชอบพูดเป็นประจำว่ารู้สึกไม่สบายเมื่อจะไปโรงเรียน ซึ่งถ้าพบว่าเด็กเป็นโรคหวาดกลัวโรงเรียนมาก อาจจำเป็นต้องไปปรึกษานักบำบัดโรคหรือแพทย์เพื่อหาทางแก้ไขต่อไป

อาการของโรคหวาดกลัวโรงเรียน เช่น

    มีอาการปวดท้องบ่อยๆ และมักข้ออ้างในอาการอื่น ๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย อ่อนเพลีย หรือ อาการปวดหัวที่ไม่สามารถอธิบายได้ ซึ่งอาการเหล่านี้มักจะเป็นตอนช่วงเช้าที่ต้องไปโรงเรียน
    ยืนร้องไห้ อาละวาด มีความหวาดกลัวเมื่อต้องแยกจากพ่อแม่หรือผู้ดูแล
    กลัวความมืดหรือเมื่อต้องอยู่ในห้องคนเดียว
    มีปัญหาทุกครั้งที่เข้านอนหรือฝันร้าย
    กลัวจนพูดเกินจริงเรื่องที่เกี่ยวกับสัตว์ ตัวประหลาด โรงเรียน ฯลฯ
    คิดตลอดเกี่ยวกับความปลอดภัยของตัวเองหรือคนอื่นๆ

ผู้ปกครองและคุณครูจะต้องนำข้อมูลเหล่านี้แลกเปลี่ยนซึ่งกัน เพื่อค้นหาสาเหตุที่นำไปสู่การหลีกเลี่ยงโรงเรียนของลูก


ข้อสังเกตเมื่อลูกอยู่ที่โรงเรียน เช่น

    กลัว การวิจารณ์ เยาะเย้ย การเผชิญหน้า หรือการลงโทษโดยครูหรือบุคลากรอื่นๆ ในโรงเรียน
    มีปัญหาในการเรียนรู้ ตัวอย่างเช่น กลัวที่จะอ่านออกเสียง กลัวการทดสอบ กลัวได้เกรดต่ำ กลัวการถูกเรียกให้ตอบคำถามหรือแสดงบนเวที หรือกลัวที่จะทำคะแนนการทดสอบได้ไม่ดี
    เป็นคนอ่อนไหวกับกิจกรรมโรงเรียน เช่น การร้องเพลงบางอย่าง การเล่นเกมที่เฉพาะเจาะจง การเข้าร่วมชุมนุมที่โรงเรียน การรับประทานอาหารในห้องอาหารกลางวัน หรือการแสดงออกหน้าชั้นเรียนต่อหน้าเพื่อนๆ
    กลัวโดนล้อ เนื่องจากลักษณะเสื้อผ้า น้ำหนัก ความสูง ฯลฯ
    ตกเป็นเหยื่อของการข่มขู่ระหว่างการเดินทางไปโรงเรียน หรือบนรถโรงเรียน
    มีบาดแผลตามร่างกาย
    มีปัญหาในการปรับตัวเข้ากับโรงเรียนใหม่


หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตจนแน่ใจแล้วว่าลูกของเรามีอาการเหล่านี้จริงๆ คุณพ่อคุณแม่ควรที่จะ

    พบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายลูก เกี่ยวกับโรคประจำตัว และปรึกษาเกี่ยวกับอาการหวาดกลัวโรงเรียนของลูก
    ฟังลูกพูดคุยเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับโรงเรียนเพื่อหาต้นเหตุว่าทำไมถึงไม่ต้องการที่จะไปโรงเรียน
    พูดคุยกับคุณครูประจำชั้นและนักจิตวิทยาโรงเรียน หรือที่ปรึกษาโรงเรียนเพื่อร่วมกันตรวจสอบสาเหตุที่ลูกหลีกเลี่ยงโรงเรียนและหาทางแก้ไข
    พยามยามปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมที่โรงเรียนและที่บ้านเพื่อช่วยให้เด็กปรับตัวเข้ากับโรงเรียนได้ดีขึ้น
    คุณพ่อคุณแม่ควรช่วยเป็นกำลังใจในการเอาชนะความกลัวของลูก โดยการเปิดใจพูดคุยกับลูกทีละน้อย
    คุณพ่อคุณแม่ต้องเข้าไปมีส่วนร่วมและให้กำลังใจกับลูกในระหว่างไปโรงเรียน และพยายามเข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียน
    อ่านหนังสือที่กระตุ้นให้เกิดการแสดงออกของความรู้สึกและสอนทักษะการเผชิญปัญหา
    สร้างสถานการณ์ที่มีบทบาทและพูดคุยเกี่ยวกับวิธีการต่างๆ ในการสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่นให้แก่ลูก และเปิดโอกาสให้ลูกไปเที่ยวกับเพื่อนร่วมชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมมิตรภาพ
    คุณพ่อคุณแม่ควรสร้างความมั่นใจถึงความปลอดภัยทุกครั้งระหว่างที่ลูกไปโรงเรียนผ่านการกอด หรือคำพูดเชิงบวก
    สอนเทคนิคการผ่อนคลายให้แก่เด็กๆ เช่น การนับ 1 – 10 การสูดลมหายใจเข้าออกลึกๆ