กระชายสกัด: "กระชาย" สมุนไพรไทยใช้รักษาโรคอะไรได้บ้าง ?อีกหนึ่งสมุนไพรยอดฮิตที่นำมาใช้ในวงการแพทย์แผนไทย เพื่อเป็นส่วนประกอบในยาบรรเทาและรักษาโรคก็คือกระชาย เนื่องจากกระชายเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการรักษาโรคต่าง ๆ ได้ ซึ่งหากคุณกำลังสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับกระชาย ไม่ว่าจะเป็น กระชายขาว กระชายเหลือง กระชายดำ กระชาย มีความแตกต่างอย่างไร ? เหมือนกันไหมแต่ละชนิดมีประโยชน์อย่างไรบ้าง ?
บทความนี้เราอยากจะพาคุณไปรู้จักกับกระชายสมุนไพร ที่เต็มไปด้วยประโยชน์มากมายนี้ให้มากขึ้น เพราะในปัจจุบันกระชายก็ได้มาเป็นส่วนหนึ่งในตัวยาหลากรูปแบบ เพื่อที่คุณจะได้นำความรู้ไปเป็นแนวทางไปในการดูแลตนเอง หรือนำความรู้มาเป็นไอเดียในการนำกระชายมาแปรรูปเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ต่อไป
รู้จักกระชาย
กระชาย เป็นพืชสมุนไพรที่ปลูกเลี้ยงกันในประเทศจีนและเอเชียตะวันออกเฉียง จัดเป็นพืชตระกูลไม้ล้มลุก มีสีน้ำตาลอ่อน ลักษณะเป็นเหง้าสั้น แตกหน่อได้ และมีรากกลมอวบ โดยลำต้นมีความยาวประมาณ 4 -10 เซนติเมตร เชื่อว่าหลายคนอาจจะไม่ทราบว่านอกจากชื่อ กระชาย สมุนไพรชนิดนี้ยังมีชื่ออื่น ๆ อีก อย่างเช่น ว่านพระอาทิตย์ (กรุงเทพมหานคร), จี๊ปู, ซีฟู, เปาซอเร๊าะ, เป๊าสี่, เป๊าะสี่, ระแอน, เป๊าะซอเร้าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ละแอน (ภาคเหนือ), ขิงจีน, กระชายดำ, กะแอน, และขิงทราย (มหาสารคาม)
ส่วนในวงการแพทย์แผนไทยยังเรียกกระชายว่าเป็น โสมไทย นอกจากชื่อเรียกของกระชายที่มีหลากหลายแล้ว ยังมีหลายชนิดด้วย ได้แก่ กระชายดำ กระชายแดง และกระชายเหลือง แต่บ้านเรานิยมใช้เป็นกระชายเหลืองในการนำมาเป็นส่วนประกอบในอาหาร ไม่ว่าจะเป็น แกง และผัดต่าง ๆ
ลักษณะของกระชาย
ต้นกระชาย
ลำต้นกระชายจะมีความสูงประมาณ 9 เซนติเมตร โดยลำต้นส่วนกลางจะเป็นแกนแข็งมีกาบ หรือโคนใบหุ้มเล็กน้อย
รากกระชาย
ราก บางคนเรียกว่า นมกระชาย โดยรากของกระชายจะมีลักษณะกลม ๆ เล็ก ๆ มีสีน้ำตาล ส่วนของรากจะมีรสชาติที่เผ็ดร้อน และขมเล็กน้อย ซึ่งรสชาติของรากจะมีรสเผ็ดร้อนขม คุณสมบัติในการรักษาโรคคล้ายโสม ได้แก่ บำรุงความรู้สึกทางเพศ กระชุ่มกระชวย นำมาเป็นยาอายุวัฒนะ
ใบกระชาย
ใบของกระชายจะมีก้านใบแทงขึ้นจากหัวในดิน โดยมีขนาด 7-9 เซนติเมตร และมีความยาว 30 - 35 เซนติเมตร และตัวใบจะมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ใบกระชายมีรสชาติเฝื่อน ๆ สามารถใช้รักษาโรคในปาก บำรุงธาตุ และถอนพิษต่าง ๆ ได้
ดอกกระชาย
ดอกของกระชายจะเป็นช่อดอกมีความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร ลักษณะเป็นท่อ มีขน โคนเชื่อมติดกัน แต่ละดอกจะมีใบประดับ 2 ใบ มีสีขาวหรือสีขาวอมชมพูอ่อน ๆ และมีสีม่วง
ผลกระชาย
ผลของกระชาย จะมี 3 พู ในพูจะมีเมล็ดภายใน แม้แก่เต็มที่ก็ยังไม่แตกออก ทำให้การปลูกกระชายด้วยการเพาะเมล็ดนั้นทำได้ยาก การปลูกกระชายจึงนิยมใช้เหง้าในการปลูกมากกว่าการใช้ผล
ประเภทของกระชาย
กระชายเหลือง
กระชายเหลืองเป็นกระชายชนิดเดียวกันกับกระชายขาว เนื่องจากมีฤทธิ์ร้อนและลักษณะที่คล้ายกัน คนไทยนิยมรับประทานกระชายเหลืองกันเป็นประจำ เพราะเรามักนำกระชายเหลืองมาเป็นส่วนผสมหลักในเครื่องแกงต่าง ๆ
กระชายดำ
บางคนอาจเรียกว่า โสมกระชาย หรือ โสมไทย เพราะกระชายดำมักถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมในยารักษาโรค โดยเฉพาะในด้านการเพิ่มสมรรถภาพเพศชาย เนื่องจากมีฤทธิ์ช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว ส่งให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะเพศได้มากขึ้น และในผู้หญิงยังช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนเพศหญิง ทำให้ประจำเดือนมาเป็นปกติอีกด้วย
กระชายแดง
กระชายแดงมีสีเหลืองคล้ายกับกระชายเหลือง แต่กระชายแดงจะมีสีเหลืองออกสีแกมส้มมากกว่า คุณประโยชน์และสรรพคุณของกระชายแดง มีทั้งบรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ บำรุงระบบประสาท จึงมักถูกนำมาใช้เป็นยาอายุวัฒนะ เพราะสามารถแก้โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ได้
สรรพคุณของกระชาย
กระชายรักษาโรค
กระชายสรรพคุณในการรักษาโรคมากมาย ได้แก่
โรคตับ ไต - ช่วยให้ตับและไตแข็งแรงขึ้น
โรคต่อมไทรอยด์ - ฟื้นฟูต่อมไทรอยด์ ต่อมใต้สมอง
โรคความดัน - ปรับสมดุลความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ
นอกจากนี้กระชายยังสามารถรักษาโรคในปากและคอได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็น ปากเปื่อย ปากแห้ง หรือปากเป็นแผล เพราะในใบและเหง้าของกระชายมีสรรพคุณที่ช่วยให้สุขภาพช่องปากดีขึ้น จึงสามารถนำคุณประโยชน์ส่วนนี้ของกระชายมาเป็นส่วนผสมในการทำเป็นสเปรย์ระงับกลิ่นปากได้นั้นเอง
กระชายแก้อาการป่วย
กระชายยังช่วยบรรเทาอาการป่วยต่าง ๆ ได้ในเบื้องต้น ได้แก่
อาการหวัด
อาการวิงเวียนศีรษะ
อาการเหงือกอักเสบ
อาการท้องร่วง ท้องเสีย แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
มีฤทธิ์ต้านเจริญเติบโตของแบคทีเรียในลำไส้ อันเป็นสาเหตุหนึ่งของ
โรคกระเพาะอาหาร และยังบรรเทาอาการอักเสบของกระเพาะอาหาร
กระชายบำรุงร่างกาย
คุณสมบัติกระชายขาวมีสรรพคุณในการบำรุงร่างกาย ได้แก่
กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด
ลดไขมันในเลือด
ขับสารพิษออกจากตับ
ต่อต้านอนุมูลอิสระ
เพิ่มสมรรถนะทางเพศชาย
ช่วยบำรุงหัวใจให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น
นอกจากสรรพคุณมากมายที่เรากล่าวไปนั้น ในปัจจุบันนี้ยังมีงานวิจัยค้นพบว่า สารสกัดกระชายขาว สามารถช่วยลดการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัสโควิด – 19 และลดจำนวนการผลิตเชื้อได้อีกด้วย
ประโยชน์กระชายนั้นไม่ได้มีแค่สรรพคุณทางยาและรักษาโรคเพียงแค่นั้น แต่ยังมีประโยชน์อื่น ๆ อีกได้แก่
เพิ่มความสดชื่น ทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า
เป็นยาบำรุงร่างกาย และสร้างภูมิคุ้มกัน
สร้างความแข็งแรงให้กับเส้นผม ทำให้ผมที่บางกลับมาหนาขึ้น แก้ปัญหาผมหงอก ผมบาง และผมขาดหลุดร่วง
ช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อและปลาได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้หากคุณนำกระชาย ตะไคร้ ข่า หอมแดง ใบสะเดาแก่ มาตำผสมรวมกันกับน้ำ นำไปฉีดในบริเวณที่มีแมลงรบกวน กระชายช่วยไล่แมลงให้คุณได้อีกด้วย
ด้วยความที่ประโยชน์ของกระชายมีความสามารถในการรักษาโรคแก้อาการต่าง ๆ ได้หลากหลาย ทำให้ผู้ประกอบการที่อยากทำผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพมักจะเลือกนำกระชายมาใช้เป็นส่วนประกอบในการทำผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็น
กระชายผงชงดื่ม
กระชายในรูปแบบเม็ด, แคปซูล
กระชายในรูปแบบเครื่องดื่ม
นอกจากนี้ในปัจจุบันก็ยังมีการทำสารที่สกัดได้มาจากกระชาย มาทำผลิตภัณฑ์ในรูปแบบของสเปรย์ อย่างเช่น สเปรย์กระชายที่สามารถช่วยบรรเทาอาการไอเจ็บคอ และสเปรย์กระชายระงับกลิ่นปาก