ผู้เขียน หัวข้อ: ฉนวนกันเสียง ขั้นตอนแก้ปัญหาเพื่อนบ้านเสียงดัง  (อ่าน 498 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 996
  • จำหน่ายเครื่องจักรอุตสาหกรรมและสินค้าอุตสาหกรรม
    • ดูรายละเอียด
หนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลต่อการอยู่อาศัยอย่างมีความสุข คือ เพื่อนบ้าน และหนึ่งในปัญหาเพื่อนบ้านยอดฮิต คือ เสียงรบกวน ซึ่งพบบ่อยกับทาวน์เฮ้าส์ บ้านแฝด และคอนโด ที่มีแค่กำแพงกั้นระหว่างตัวบ้าน ทำให้เกิดปัญหามลพิษทางของเพื่อนบ้านได้ง่าย หากปัญหาเสียงรบกวนนี้เกิดขึ้นสม่ำเสมอ ย่อมส่งผลเสียต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิต การอยู่อาศัย รวมถึงกิจธุระได้


ประเภทปัญหาเสียงดังรบกวนจากเพื่อนบ้าน

1. พูดเสียงดัง

การพูดเสียงดังย่อมรบกวนผู้ที่อยู่ใกล้เคียงได้ ที่ร้ายไปกว่านั้น คือ เพื่อนบ้านที่มีนิสัยพูดเสียงดังเป็นปกติเพราะจะรบกวนอยู่เป็นประจำ หรือเพื่อนบ้านที่ส่งเสียงดังจากการทะเลาะกัน เพราะเสียงว้ากหรือหวีดใส่กันด้วยความโมโหนั้นจะรบกวนโสตประสาทได้มากมายเลยทีเดียว
เปิดทีวีหรือเพลงเผื่อแผ่ให้ฟังด้วย

แม้เป็นเรื่องของความบันเทิง แต่ก็ไม่เสมอไปที่เสียงทีวีหรือเพลงนั้นจะสร้างความสุขให้ เพราะความชอบและและการใช้ชีวิตของคนเราไม่เหมือนกัน เช่น ปัญหาเพื่อนบ้านเปิดทีวีเสียงดังในขณะที่เรากำลังทำงานหรืออ่านหนังสือที่ต้องใช้สมาธิ โดยเสียงรบกวนลักษณะนี้มักเกิดขึ้นในช่วงเวลาพักผ่อน คือ เวลาค่ำจนถึงดึก


2. ปาร์ตี้กันสุดเหวี่ยง

การสังสรรค์หรือจัดเลี้ยงกันนั้น มีทั้งแบบกินข้าวพูดคุยจนถึงตั้งวงเหล้า และเมื่อมีเหล้าเข้าปาก ก็ยิ่งจะเสริมดีกรีความดังขึ้นไปอีก สำหรับเพื่อนบ้านตัวแสบแล้ว นอกจากไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนของคนอื่นแล้ว ยังเฮฮาปาร์ตี้กันจนดึกหรือโต้รุ่ง ซึ่งเป็นการก่อเสียงดังยามวิกาลที่ทำให้บ้านใกล้เรือนเคียงนอนหลับกันไม่ได้
ซ่อมหรือต่อเติมบ้านอย่างอึกทึกครึกโครม

เลี่ยงไม่ได้ที่จะไม่เกิดเสียงหากต้องซ่อมแซมหรือต่อเติมบ้าน และถ้าคุณมีเพื่อนบ้านจอมป่วน อาจจะไม่ได้รับแจ้งล่วงหน้าให้เตรียมตัว และที่แย่ไปกว่านั้น คือ ยังดำเนินการกันช่วงเช้าตรู่หรือช่วงมืดค่ำ ซึ่งเป็นช่วงเวลาพักผ่อนด้วย


ขั้นตอนการแก้ไขปัญหาเพื่อนบ้านเสียงดัง

1. หาตัวช่วยป้องกันเสียงดังเข้ามาในบ้าน
มีหลายวิธีที่จะช่วยป้องกันหรือลดความดังของเสียง ได้แก่

-    ใช้วัสดุดูดซับเสียง เช่น ผ้าม่านหนา ๆ พรมหนา ๆ แผ่นดูดซับเสียง และวอลเปเปอร์โดยเฉพาะชนิดหนาแบบโฟม ซึ่งจะช่วยซึมซับและลดทอนความดังของเสียงได้
-    ติดตั้งเฟอร์นิเจอร์แบบบิวท์อิน การสร้างตู้เสื้อผ้า ตู้เก็บของ และ/หรือชั้นวางของติดผนังห้องส่วนที่ติดกับเพื่อนบ้านนั้นสามารถลดทอนการหักเหของคลื่นเสียง ซึ่งส่งผลให้เสียงเดินทางเข้ามาในห้องได้น้อยลงมากทีเดียว
-    ปิดช่องโหว่ไม่ให้เสียงเข้ามา เลือกใช้หน้าต่างแบบที่ปิดสนิท เช่น หน้าต่างแบบบานปิดตาย บานเปิด หรือบานกระทุ้ง แต่ไม่ควรใช้หน้าต่างแบบบานเกล็ดและบานเลื่อน ซึ่งมีช่องว่างที่ทำให้เสียงเดินทางเข้ามาได้ สำหรับประตูนั้น ควรหาแผ่นโฟม แผ่นยาง หรือแผ่นซิลิโคนมาติดใต้ประตูเพื่ออุดช่องว่างระหว่างบานประตูกับพื้น
-    วางเตียงนอนและโต๊ะทำงานให้ห่างจากผนังหรือมุมห้อง ระยะห่างระหว่างเตียงหรือโต๊ะทำงานกับผนังจะช่วยลดทอนการถ่ายทอดเสียง จึงจะทำให้เสียงดังน้อยลง
-    ปลูกต้นไม้รอบบ้าน ต้นไม้ช่วยป้องกันหรือสะท้อนเสียงที่จะเข้ามาในบ้านให้ออกไปได้ ในกรณีที่อยู่อาศัยในคอนโด อาจตกแต่งคอนโดด้วยต้นไม้จริงที่ระเบียง และต้นไม้เทียมหรือต้นไม้จริงที่จะไม่แย่งออกซิเจนที่ผนังฝั่งที่ติดกับเพื่อนบ้าน


2. เจรจาขอความร่วมมือ

หากเสียงดังมากจริง ๆ จนตัวช่วยในข้างต้นไม่ได้ผลดี และดูแล้วเพื่อนบ้านน่าจะสามารถพูดคุยกันได้ ให้ลองแก้ปัญหาด้วยการเกริ่นถึงปัญหาเสียงดังที่เกิดขึ้น หากพอจะพูดคุยกันรู้เรื่อง ก็ขอให้เพื่อนบ้านช่วยลดเสียงหรืออย่าส่งเสียงดังยามวิกาลหรือในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสมก็ลองพูดขอให้ลดเสียงหรืออย่าส่งเสียงดังยามวิกาลหรือในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสม


3. ขอความช่วยเหลือจากนิติบุคคลกรณีคอนโดและหมู่บ้านจัดสรร

หากดูแล้วไม่น่าจะคุยกับเพื่อนบ้านได้ หรือได้ขอร้องกันดี ๆ แล้วไม่ได้ผล แก้ปัญหาเพื่อนบ้านเสียงดังนี้ได้โดยไปร้องเรียนกับนิติบุคคล ซึ่งมีหน้าที่ดูแลปัญหาภายในคอนโดหรือหมู่บ้านจัดสรรที่คุณอยู่อาศัย นิติบุคคลจะแจ้งเตือนและเข้าไปคุยกับเพื่อนบ้านของคุณเพื่อให้ลด ละ หรือเลิกการสร้างเสียงรบกวน


4. ขอความช่วยเหลือจากตำรวจ

แต่หากขั้นตอนที่ 1, 2 และ 3 ไม่ช่วยอะไร ลองจัดการปัญหาเพื่อนบ้านเสียงดังด้วยกฎหมาย ทั้งแพ่งและอาญา

-    ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และ 421 ผู้ที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นในด้านชีวิต ร่ายกาย อนามัย เสรีภาพ หรือสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งในกรณีนี้ ถือว่า เพื่อนบ้านได้ส่งเสียงดังรบกวนการพักผ่อนอันมีผลต่อสุขภาพอนามัยและละเมิดสิทธิในการอยู่อาศัยอย่างสงบนั้น ศาลสามารถออกคำสั่งให้เพื่อนบ้านหยุดพฤติกรรมเสียงดังได้ และเพื่อนบ้านก็ต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนหากเกิดความเสียหาย
-    ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 370 ผู้ที่ส่งเสียงดังอันไม่มีเหตุอันสมควรและทำให้บุคคลอื่นเดือดร้อน มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท และตามมาตรา 371 หากเป็นการส่งเสียงดังที่คุกคามต่อคนจำนวนมาก มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ



ฉนวนกันเสียง ขั้นตอนแก้ปัญหาเพื่อนบ้านเสียงดัง อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://noisecontrol365.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 26 กันยายน 2023, 22:56:00 น. โดย siritidaphon »