ผู้เขียน หัวข้อ: covid 33: ตรวจโควิด-19 RT-PCR vs ATK ต่างกันอย่างไร?  (อ่าน 153 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 807
  • จำหน่ายเครื่องจักรอุตสาหกรรมและสินค้าอุตสาหกรรม
    • ดูรายละเอียด
covid 33: ตรวจโควิด-19 RT-PCR vs ATK ต่างกันอย่างไร?
« เมื่อ: วันที่ 22 มกราคม 2024, 11:27:42 น. »
Antigen Test Kit หรือ ATK เป็นการตรวจหาเศษส่วนของเชื้อ โดยชุดตรวจ ATK นี้เราสามารถตรวจเองได้ที่บ้าน โดยมีหลายวิธี ตั้งแต่วิธีการ Swab จมูก, Swab คอ และชุดตรวจแบบน้ำลาย เลือกซื้อแบบไหนถึงจะมั่นใจ ได้คุณภาพ?


ข้อแนะนำในการเลือกชื้อชุดตรวจโควิด ATK

ให้ใช้ชุดตรวจที่ได้รับมาตรฐานตามที่ WHO แนะนำ โดยควรใช้ชุดตรวจที่ระบุไว้ข้างกล่องว่าเป็นวิธี Lateral Flow Technique (LTF) วิธีนี้มีความแม่นยำ 60-90% ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละยี่ห้อของชุดทดสอบ
ควรเลือกชุดตรวจ ATK ที่ระบุว่า สำหรับตรวจโควิด-19 ด้วยตนเอง หรือบุคคลทั่วไปสามารถใช้ได้ (Home use/Self-test)
มีเลขอย. กำกับ รูปของผลิตภัณฑ์ต้องตรงกับข้อมูลการอนุญาตของ อย.
ตรวจข้อมูลการอนุญาตจาก อย. ด้วยเลขที่ใบรับรองประเมินเทคโนโลยี T 6400xxx
ซื้อจากแหล่งขายที่น่าเชื่อถือ  ตรวจสอบที่มาที่ไปได้ เช่น โรงพยาบาล คลินิก ร้านขายยา ร้านขายเครื่องมือแพทย์ เป็นต้น
ชุดตรวจ ATK ควรมีค่าความไว (Sensitivity) และค่าความจำเพาะ (Specificity) ไม่ต่ำกว่า 90% เพื่อลดโอกาสการเจอผลลวง ยิ่งค่าสูงมากเท่าไหร่ โอกาสที่จะเจอผลบวกลวงและผลลบลวงก็จะน้อยลง
ตรวจสอบวันหมดอายุของชุดตรวจ ATK ต้องไม่หมดอายุ


วิธีตรวจหาเชื้อโควิดโดย Antigen Test Kit (ATK) ด้วยตัวเอง

ทำความรู้จัก Antigen Test Kit

Antigen Test Kit – ATK หรือชุดตรวจโควิด-19 แบบเร่งด่วน ด้วยการ Swab เก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งทางจมูก ลึกถึงคอ หรือเก็บจากคอ สามารถทำได้เองที่บ้าน การตรวจชนิดนี้เป็นการตรวจคัดกรองเบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งการหาซื้อชุดตรวจ Antigen Test Kit นั้น ควรซื้อชุดตรวจที่ได้รับมาตรฐานจากอย. เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน และควรตรวจสอบวันหมดอายุของชุดทดสอบก่อนทุกครั้ง  ไม่ควรเปิดหรือฉีกซองที่บรรจุ Antigen Test Kit จนกว่าจะถึงการทดสอบ

ใครบ้างที่ควรใช้ชุดตรวจ Antigen Test Kit

    ผู้ที่สัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั้งที่มีอาการและไม่มีอาการ
    ผู้ที่เริ่มมีอาการสงสัยว่าติดเชื้อโควิด-19


ขั้นตอนการตรวจหาเชื้อโควิด-19 โดย Antigen Test Kit ด้วยตัวเอง

ก่อนตรวจหาเชื้อ COVID-19 ควรอ่านวิธีการใช้หรือคำแนะนำ Antigen Test Kit ให้ละเอียดถี่ถ้วนก่อนทุกครั้ง เนื่องจากชุดตรวจแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน  โดยการใช้งานเบื้องต้นมีขั้นตอนคร่าวๆ ดังนี้

    เคลียร์จมูก สั่งน้ำมูก (ถ้ามี) ก่อนทำการ Swab
    ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจล
    ใช้ไม้ SWAB ที่มาพร้อมชุดตรวจ เก็บสารคัดหลั่งจากโพรงจมูก เงยหน้าขึ้นนิดหนึ่ง จากนั้นแยงเข้าไปในโพรงจมูกช้า ๆ แยงเข้าไปลึกประมาณ  2- 2.5 ซม. หรือ 1 นิ้ว หมุนเบา ๆ 5 รอบ
    แยงจมูกอีกข้าง โดยทำเหมือนข้างแรก หมุนเบา ๆ 5 รอบ
    เมื่อเก็บสารคัดหลั่งเสร็จแล้ว นำไม้ SWAB ลงไปเก็บในหลอดที่มีน้ำยาสกัดหรือน้ำยา Test  จากนั้นหมุนไม้ SWAB  5 ครั้ง เพื่อให้สารคัดหลั่งสัมผัสกับน้ำยามากที่สุด  จากนั้นนำไม้ SWAB ออกและปิดด้วยจุกฝาหลอดหยด
    ตลับทดลองจะมีหลุม  เพื่อให้สามารถหยอดน้ำยาได้  โดยให้หยอดน้ำยาลงในตลับทดสอบตามจำนวนที่ชุดตรวจกำหนด (ขึ้นอยู่กับแต่ละยี่ห้อชุดตรวจ) และเมื่อหยอดเสร็จแล้วน้ำยาจะไหลไปตามแผ่นกรองที่อยู่ด้านใต้
    รออ่านผล ประมาณ 15-30 นาที (ห้ามอ่านผลก่อนหรือหลังเวลาที่กำหนด)


หมายเหตุ

    ควรอ่านตามเวลาที่ Antigen Test Kit ระบุไว้ เพื่อไม่ให้ผลการตรวจคลาดเคลื่อนและเกิดความผิดพลาด
    ห้ามเอามือไปจับบริเวณที่ต้องใช้เก็บสิ่งส่งตรวจเด็ดขาด เพราะอาจทำให้ผลการทดสอบคลาดเคลื่อน เนื่องจากจะมีเชื้อโรคจากมือปนเปื้อนลงไป
    ห้ามแยงแรงจนเลือดออก เพราะหากมีเลือดจะไม่มาสามารถยืนยันผลตรวจได้ ต้องรอให้แผลหายและทำการทดสอบใหม่


วิธีการอ่านผลตรวจและแปรผลทดสอบ

ผลบวก ติดเชื้อโควิด-19

ปรากฏแถบสีแดง ทั้งทีแถบทดสอบ (T) และแถบควบคุม(C) = ติดเชื้อ

(สีที่ต่างกันหรือสีเพื้ยน อาจเกิดจากการเก็บ ซึ่งไม่มีผลต่อการทดสอบแต่อย่างใด)

ผลลบ ไม่ติดเชื้อโควิด-19

ปรากฏเฉพาะแถบควบคุม (C )


ผลที่ใช้งานไม่ได้

ไม่ปรากฏแถบอะไรเลย ชุดตรวจอาจมีปัญหา แนะนำให้ทำการทดสอบซ้ำอีกครั้ง

การปฏิบัติตัวหลังทราบผลตรวจ กรณีผลการทดสอบเป็นบวก

แนะนำให้ทำการทดสอบ RT-PCR ซ้ำ  เพื่อยืนยันผลอีกที เนื่องจากชุดตรวจ Antigen Test Kit เป็นการคัดกรองเบื้องต้นเท่านั้น  และควรดำเนินการติดต่อหน่วยงานบริการใกล้บ้าน เช่น ศูนย์บริการสาธารณสุข หรือสถานพยาบาล เป็นต้น เพื่อทำการประเมินอาการและดำเนินการรักษาในขั้นต่อไป 


การปฏิบัติตัวหลังทราบผลตรวจ กรณีผลการทดสอบเป็นลบ

กรณีที่ผลตรวจแสดงออกมาเป็นลบ ไม่ได้หมายความว่าไม่ติดเชื้อเสมอไป โดยผู้ตรวจควรประเมินความเสี่ยงของตัวเองว่าอยู่ในกลุ่มที่ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงไหม เพราะเชื้อไวรัส COVID-19 จะมีระยะฟักตัวยาวถึง 14 วัน เพื่อความแน่ใจควรทำการแยกกักตัวและตรวจหาเชื้ออีกครั้งภายหลังจากวันทดสอบวันแรกประมาณ 3-5 วัน แต่ถ้าช่วงระหว่างกักตัว มีอาการผิดปกติ เช่น ไข้ขึ้นสูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส เจ็บคอ ไอ ก็สามารถตรวจซ้ำได้อีกครั้งเลยทันที

ข้อควรระวัง!

    อุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจผลหาเชื้อ COVID-19 ห้ามนำกลับมาใช้ใหม่เด็ดขาด
    หลังจากที่ตรวจหาเชื้อเสร็จแล้ว ควรทำการแช่น้ำยาฆ่าเชื้อและแยกชุดตรวจใส่ถุงปิดให้มิดชิดก่อนทิ้งขยะตามขั้นตอนการทิ้งขยะติดเชื้ออย่างถูกวิธี 
    ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังทำการตรวจหาเชื้อเพื่อความปลอดภัยต่อผู้อื่น กรณีที่ทำการตรวจ Antigen Test Kit ให้กับผู้อื่น ควรสวมอุปกรณ์ป้องกัน เช่น ชุด PPE ถุงมือ และหน้ากากอนามัย N95 ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันการได้รับเชื้อ




covid 33: ตรวจโควิด-19 RT-PCR vs ATK ต่างกันอย่างไร? อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/covid-19